วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน
วันที่  22  กุมภาพันธ์  2559
ครั้งที่  7  เวลาเรียน  14:30 น. - 17:30 น.

Notice
            This week is during midterm examination and today is a Magha Puja Day. Therefore today is no teaching. 


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วันที่  15  กุมภาพันธ์  2559
ครั้งที่  6  เวลาเรียน  14:30 น. - 17:30 น.

Knowledge
                    วันนี้อาจารย์ได้ตรวจดูแผนการจัดประสบการณ์ของแต่ละกลุ่ม พร้อมกับให้คำแนะนำโดยรวม ดังนี้ คือ ครูต้องมีเทคนิควิธีการในการให้เด็กจับกลุ่มกัน เช่น รถจักรยานชนกับรถตุ๊กตุ๊กนับรวมกันได้กี่ล้อ เด็กก็จะนับล้อและจับกลุ่มกันตามจำนวนล้อหรือไปซื้อไก่ที่ตลาด 2 ตัว นับรวมกันได้กี่ขา เด็กก็จะจับกลุ่มกันตามจำนวนขาไก่ วิธีนี้จะช่วยฝึกให้เด็กได้คิดนับล้อรถและนับขาไก่ แทนการนับตัวเลขธรรมดา ก่อนที่จะสร้างข้อตกลงกับเด็ก ครูต้องให้เด็กหาพื้นที่ให้ตัวเองก่อน เพื่อให้เด็กไม่ชนกันขณะทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ถ้าเด็กชนกันก็ให้เด็กขยับให้ไม่ชนกัน และนอกจากนี้อาจารย์ยังให้แต่ละกลุ่มออกมาทดลองสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้ดู และอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำแต่ละกลุ่มในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ดังนี้
1. หน่วย ยานพาหนะ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                   ถ้าเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย คำบรรยายต้องใส่ไว้ในภาคผนวกด้วย ครูต้องให้เด็กเคลื่อนไหวปกติเป็นอันดับแรก เพื่อเปรียบเทียบกับจังหวะเร็ว - ช้า จังหวะปกติจะเป็นเกณฑ์ จังหวะปกติ หมายถึง การเดินธรรมดา ถ้าสอนอนุบาล 1 ให้อธิบายการเคาะจังหวะด้วย แต่ถ้าสอนอนุบาล 2 ไม่ต้องอธิบายจังหวะการเคาะช้า - เร็วให้เด็กฟัง เพราะ เด็กอนุบาล 2 รู้จักสัญญาณการเคาะอยู่แล้ว การที่วิ่งแล้วหยุดนิ่ง คือ การที่จะให้เด็กเตรียมความพร้อมเรื่อง การทรงตัว ครูต้องให้เด็กทำทีละอย่าง ไม่ต้องทำหลายอย่าง เพื่อที่จะสามารถเกฌบไว้สอนวันอื่นได้ เวลาไปสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเด็กอนุบาลจริงๆ ห้ามใช้เวลาเกิน 20 นาที 
2. หน่วย ผัก
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                   เวลาสอนต้องนึกถึงหลักความเป็นจริงว่าผักมันเคลื่อนที่ไม่ได้ ครูต้องหาวิธีการให้ผักเคลื่อนที่ได้ เช่น ให้เด็กเป็นคนขายผักนำผักติดตัวไปด้วย เด็กก็จะมีวิธีการถือผักที่แตกต่างกัน โดยครูอาจบอกว่า ไม่ให้เด็กใช้มือถือผักเด็กๆจะมีวิธีอย่างไรที่จะนำผักติดตัวไปด้วย เช่น หนีบไว้ที่แขน คาบไว้ทีี่ปาก หนีบไว้ที่ขา เป็นต้น ครูต้องสอนตามแผนการจัดประสบการณ์ที่เขียนไว้
3. หน่วย ผีเสื้อ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  ครูต้องฝึกและรู้จักวิธีการเคาะจังหวะที่หลากหลาย ให้เด็กทำตามข้อตกลงที่ครูได้บอกไว้
4. หน่วย เห็ด (กลุ่มของดิฉัน)
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  ครูต้องฝึกการเคาะให้เป็นจังหวะ และฝึกการเคาะที่หลากหลาย ถ้าจะให้เด็กเต้นตามจินตนาการ ครูไม่จำเป็นต้องทำท่าเต้นให้เด็กดูก่อนก็ได้


Teacher is checking lesson plans.


My friend is teaching Motor and Rhythmic Activities.

Application
                     ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้ประโยชน์ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้ตรงตามหน่วย ตรงตามวัตถุประสงค์ที่เราได้ตั้งไว้ ไม่ว่าจะสอนอะไรก็ต้องเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้ละเอียด สอนให้ตรงตามแผนการจัดประสบการณ์ที่เราได้เขียนไว้

Technique
                     วันนี้อาจารย์ได้ใช้เทคนิคการสอนโดยการอธิบาย และการบรรยาย เนื่องจากวันนี้มีการทดลองสอนการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ จึงต้องใช้เทคนิคนี้ อาจารย์ได้บรรยายความรู้และเทคนิควิธีการต่างๆให้นักศึกษาฟัง และได้อธิบายในสิ่งที่นักศึกษาไม่เข้าใจให้เข้าใจกระจ่างขึ้น อาจารย์ได้บรรยายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น สะดวกต่อการซักถามข้อสงสัยต่างๆ

Evaluation

Self
                    วันนี้ดิฉันเข้าเรียนทันเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ตั้งใจฟังคำอธิบายและข้อแนะนำต่างๆจากอาจารย์ เพือสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้ ตั้งใจฟัง ดูและช่วยออกไปมีส่วนร่วมขณะที่เพื่อนกำลังสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และตั้งใจเรียนค่ะ

Friends
                    วันนี้มีเพื่อนขาดเรียนหลายคน ส่วนใหญ่แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย บางคนใส่กระโปรงสั้นเกินไป บางคนใส่เสื้อรัดรูปจนเกินไป และเพื่อนส่วนใหญ่ตั้งใจดูเพื่อนสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ตั้งใจฟังคำอธิบายจากอาจารย์ แต่มีเพื่อนบางคนไม่ค่อยตั้งใจดูเพื่อนสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะและไม่ค่อยตั้งใจฟังอาจารย์

Teacher
                   วันนี้อาจารย์มาถึงห้องเรียนช้าเล็กน้อย อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีความตั้งใจในการตรวจแผนการจัดประสบการณ์ของแต่ละกลุ่ม ตั้งใจในการดูนักศึกษาสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะอย่างมาก พร้อมกับออกมาสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาดู เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมากยิ่งขึ้น และอาจารย์ได้ให้คำแนะนำและเทคนิคต่างๆอย่างดีในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ


วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วันที่  8  กุมภาพันธ์  2559
ครั้งที่  5  เวลาเรียน  14:30 น. - 17:30 น.

Knowledge
                    วันนี้อาจารย์ดู Mind map ของแต่ละกลุ่ม พร้อมกับให้คำแนะนำต่างๆอย่างดี
1. หน่วย ผีเสื้อ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้ 
                    ผีเสื้อต้องการอาหาร น้ำ ผีเสื้อต้องการเจริญเติบโต ถ้าสอนหน่วยที่เป็นสิ่งมีชีวิตต้องการอาหาร น้ำ ที่อยู่ และยารักษาโรค ควรแยกเป็นวงจรชีวิตของผีเสื้อ
2. หน่วย ผัก
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                    การเจริญเติบโตของผักขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด หัว กิ่ง การเขียนประโยชน์ในหน่วยนี้ต้องเขียนเป็น 2 ประเด็น คือ
    1. ต้องพูดถึงประโยชน์ของตัวผักเอง
    2. ต้องพูดถึงเกี่ยวกับประโยชน์ที่มีต่อโลกใบนี้
ประโยชน์และโทษมีเพื่อให้เด็กเห็นว่าทุกอย่างบนโลกใบนี้มีทั้งคุณและโทษ
3. หน่วย กล้วย
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                    ถ้าหัวข้อไหนที่ไม่สามารถแยกประเภทได้ ก็ไม่ต้องแยก ส่วนประกอบของกล้วยต้องมี เปลือกกล้วย เม็ด และเนื้อ หัวข้อจะใช้การถนอม การดูแลรักษาหรือการเลือกซื้อกล้วยก็ได้
4. หน่วย เห็ด (กลุ่มของดิฉัน)
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                    ให้แยกประเภทเป็น 2 กลุ่ม คือ 
    1. เห็ดที่กินได้
    2. เห็ดที่กินไม่ได้
องค์ประกอบส่วนอื่นๆ มีครบ ในหน่วยนี้ต้องเน้นการขยายพันธุ์ การดำรงชีวิตของเห็ด เพราะ เป็นจุดเด่นของตัวเห็ด ข้อควรระวัง ถ้ากินเห็ดที่กินไม่ได้จะเกิดอาการ คลื่นไส้ ตัวเหลือง หมดแรง สามารถแก้ไขได้โดยการพาไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ถ้ากินเห็ดที่มีพิษเข้าไปมาก อาจเกิดอันตรายถึงเสียชีวิตได้ ครูต้องสอนเด็กว่าถ้าเห็นเห็ดพิษแล้วห้ามกิน ต้องนำไปให้ผู้ใหญ่ดูก่อนว่าเห็ดนี้กินได้ไหม ครูต้องบอกกลิ่นของเห็ดให้ชัดเจนว่าเหม็นยังไง กลิ่นเหม็นกับกลิ่นฉุนไม่เหมือนกัน อาจจะมีกลิ่นเหม็น เหม็นสาป เหม็นเปรี้ยว ฯลฯ
5. หน่วย ยานพาหนะ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                   ประเภทของยานพาหนะทางน้ำมีมากกว่าเรือ เช่น แพ เรือดำน้ำ เรือยอร์ช เป็นต้น ต้องดูว่ายานพาหนะมีวิธีการดูแลรักษาอย่างไร เช่น ตรวจเช็คสภาพรถก่อนเดินทาง คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง เป็นต้น (ครูอยากสอนอะไร ก็ต้องให้ความรู้กับเด็กเรื่องนั้น) 
6. หน่วย ส้ม
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                   เขียน Mind map เรียงลำดับผิด ต้องเขียนชนิดก่อนเป็นอันดับแรกและต้องเขียนวนไปทางขวามือ ต้องเพิ่มหัวข้อวิธีการเลือกซื้อกับการถนอมส้มออกมาอีกหัวข้อนึง หัวข้อการประกอบอาหารให้แยกย่อยออกมาจากหัวข้อประโยชน์ การแปรรูปแยกย่อยออกมาจากหัวข้อประโยชน์ได้
สาระที่ควรเรียนรู้
                   ครูต้องเขียนออกมาให้ถูกว่าสาระที่ควรเรียนรู้ คืออะไร เช่น
- เห็ด  เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีหลายชนิด มีชื่อเรียกแตกต่างกัน มีทั้งประโยชน์และโทษ มีลักษณะแตกต่างกัน ส่วน (แนวคิด) เป็นข้อสรุปว่าสิ่งที่เรียนใช่เห็ดหรือป่าว
ประสบการณ์สำคัญ
                   คือ สิ่งที่เด็กได้ทำจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ต้องให้เด็กลงมือทำ เพราะ การลงมือทำ คือ วิธีการเรียนรู้ของเด็ก ครูต้องจัดวิธีการเรียนรู้ของเด็กให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก พัฒนาการของเด็กจะมีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแล้ว ครูต้องจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก เมื่อเด็กได้ลงมือทำ โดยมีโอกาสเลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง เด็กจะมีความสุขและมีอิสระในการเรียนรู้ การเล่นเอง การตัดสินใจเอง การลงมือทำด้วยตนเอง เรียกว่า การเล่น คือ การที่เด็กต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่อที่จะปรับตัวให้เข้ากับเพื่ิอน และกับผู้อื่นในสังคมและเพื่อที่จะจะอยู่รอดในสังคม ซึ่งประสบการณ์สำคัญมัทั้ง 4 ด้าน คือ
    1. ด้านร่างกาย
    2. ด้านอารมณ์ - จิตใจ
    3. ด้านสังคม
    4. ด้านสติปัญญา
กรอบพัฒนาการและกิจกรรม
                  ครูต้องศึกษาจากเล่มหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ว่าเด็กปฐมวัยแต่ละช่วงอายุสามารถทำอะไรได้บ้าง
บูรณาการทักษะรายวิชา
                 แต่ละรายวิชาต้องมีสิ่งที่เรียนมากมาย ครูต้องบูรณาการให้ได้หลายๆอย่าง เช่น
    1. คณิตศาสตร์ - เรขาคณิต รูปทรง รูปร่าง การแยกแยะ เรียงลำดับ นับจำนวน จัดกลุ่ม  พีชคณิต แบบรูป รูปแบบ การเก็บข้อมูลต่างๆและนำเสนอข้อมูลเป็นแผนภาพ
    2. วิทยาศาสตร์ - ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ้ได้แก่ การสังเกต (Observation)  การวัด (Measurement)  การจำแนกประเภท (Classification)  การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซและสเปซกับเวลา (Space/space relationships and space/time relationships)  การคำนวณ (Using numbers)  การจัดกระทำและการสื่อความหมายข้อมูล (Organizing data and communication)  การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring)  การพยากรณ์ (Prediction)  การตั้งสมมติฐาน (Formulating hypertheses)  การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining operationally)  การกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and controlling variables)  การทดลอง (Experimenting)  การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป (Interpreting data conclusion)  และพลังงานจนล์และพลังงานกล
    3. พลศึกษา/สุขศึกษา - ถ้าจะกินอะไรต้องล้างมือก่อน สุขภาพอนามัยต่างๆ 
    4. ศิลปะสร้างสรรค์ - ประดิษฐ์จรวดแล้วให้เด็กโยนหรือเป่าแข่งกัน แล้วใช้ฝ่ามือวัดว่าใครได้ฝ่ามือเยอะกว่ากันคนนั้นชนะ
    5. ภาษา - เขียนภาพ ธนาคารคำ การร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง สนทนากิจกรรมโต้ตอบกับครูและเพื่อน
เว็บเครือข่ายใยแมงมุม (Web กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม)
                 ต้องเขียนเรียงลำดับตามวันจันทร์ - วันศุกร์ โดยจะต้องสอดคล้องไปกับแผนและกิจกรรม 
แผนการจัดประสบการณ์
                 วัตถุประสงค์ต้องมี 4 ด้าน เน้นด้านที่เหมาะสมกับกิจกรรม
เคลื่อนไหวพื้นฐานของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
                 มีดังนี้ เดิน วิ่ง กระโดด ควบม้า ครูสามารถจัดกิจกรรมใก้เด็กเดินด้วยปลายเท้า ส้นเท้า ด้านข้างเท้า เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินที่ได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย ครูอาจเคาะแล้วให้เด็กเปลี่ยนท่าทางการเดินด้วยตนเอง เพื่อที่เด็กจะได้มีจินตนาการและมีอิสระในการทำกิจกรรม
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
                ห้ามใช้ป้ายนิเทศน์เป็นสื่อการสอน ขั้นนำให้ใช้เพลงหรือคำคล้องจองในการสอน ครูอาจนำของมาให้เด็กดู อาจให้เด็กทุกคนทายก็ได้ ถ้าใครตอบถูกก็ปรบมือให้ตัวเอง ต่อมาให้เด็กช่วยกันนับจำนวน เช่น หน่วย กล้วย ให้แยกตามชื่อของกล้วย หน่วย ส้ม ก็ให้แยกตามชื่อของส้ม เสร็จแล้วถามเด็กว่าอันไหนมากกว่ากัน ให้เด็กหยิบทีละอัน โดยหยิบจากอันแรก
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
                ทุกวันต้องวาดรูปและปั้นดินน้ำ เช่น ให้เด็กทำสมุดเล่มเล็ก โดยการวาดภาพและบรรยาย
เกมการศึกษา
เช่น จับคู่ภาพเหมือน เป็นต้น


Teacher is teaching plans.

Application
                     ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปปรับปรุงและพัฒนาการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของตนเองให้มีความถูกต้องตามระเบียบแบบแผน เพื่อที่จะนำแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยต่อไปในอนาคตค่ะ

Technique
                     วันนี้อาจารย์ได้ใช้เทคนิคการสอนโดยการอธิบาย การบรรยาย และมีการใช้สื่อมัลติมีเดีย (เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์) อาจารย์ได้บรรยายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์พูดมากยิ่งขึ้น มีความสะดวกรวดเร็วในการซักถามข้อสงสัยต่างๆ ส่วนเครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์ อาจารย์ใช้เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันทุกคนในสิ่งที่อาจารย์กำลังสอน ซึ่งทุกคนสามารถมองเห็นได้จากจอโปรเจคเตอร์ค่ะ

Evaluation

Self
                    วันนี้ดิฉันมาช้าประมาณ 15 นาที แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์กำลังสอน ตั้งใจฟังข้อเสนอแนะ คำติ - ชม ต่างๆจากอาจารย์ เพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงและพัฒนาการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้ดียิ่งๆขึ้นไป

Friends
                    วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่มาเรียนทันเวลา บางกลุ่มไม่ค่อยตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์กำลังอธิบาย ทำให้อาจารย์ต้องคอยเรียกกระตุ้นอยู่บ่อยครั้ง เพื่อนๆทุกกลุ่มมีความพยายามในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของตนเองอย่างเต็มที่

Teacher
                   วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีความตั้งใจในการสอนอย่างมาก อาจารย์อธิบายวิธีการเขียนแผนกาจัดประสบการณ์อย่างละเอียด ทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น และนอกจากนี้อาจารย์ยังมีข้อแนะนำต่างๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเขียน Mind map ต้องเขียนเรียงลำดับให้ถูก หัวข้อแรกต้องอยู่ทางขวามือ (ชนิด) แล้วค่อยแยกจัดหมวดหมู่ตามลำดับถัดไป หัวข้อไหนที่รวมกันได้ควรจับรวมกัน ต้องให้เด็กได้จัดหมวดหมู่ จัดประเภท ในแต่ละหน่วยมันจะบอกบริบทของมันเองและถ้าเราต้องการพูดอธิบายเพื่อให้อีกฝ่ายเข้าใจ โดยเน้นไปที่ข้อความที่เราพูดถึงให้ใช้ปลายปากกาหรือดินสอ

  

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วันที่  1  กุมภาพันธ์  2559
ครั้งที่  4  เวลาเรียน  14:30 น. - 17:30 น.

Knowledge
                    วันนี้อาจารย์ได้สรุปองค์ความรู้และให้คำแนะนำกับการนำเสนองานของทุกกลุ่มจากสัปดาห์ที่แล้ว และวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับกลุ่มทำกิจกรรมกัน กลุ่มละ 5 คน โดยให้แต่ละกลุ่มเลือกหัวเรื่องมา 1 เรื่อง เพื่อที่จะนำมาเป็นหน่วยในการสอน ซึ่งต้องแตกองค์ความรู้เป็น Mind map และเขียนแผนการสอนทั้ง 5 วัน เน้นคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษา และความคิดสร้างสรรค์ ว่าแต่ละหน่วยมีอะไรบ้างจากรายวิชาต่างๆ โดยแต่ละกลุ่มเลือกหน่วยที่ใช้ในการสอน ดังนี้
หน่วยที่แต่ละกลุ่มเลือกใช้ในการสอน
1. หน่วย ส้ม
2. หน่วย ดอกอัญชัน
3. หน่วย เห็ด
4. หน่วย ผีเสื้อ
5. หน่วย ผัก
6. หน่วย กล้วย


Consult with my group about title for teach.

Application
                     ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้สอนเด็กปฐมวัย โดยก่อนจะสอนเรื่องใด เราต้องคิดและคำนึงก่อนว่า ในช่วงเวลานั้นๆเหมาะที่จะสอนเรื่องนี้ไหม ควรให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการคิดด้วยว่า สัปดาห์นี้อยากเรียนเรื่องอะไร เพื่อที่จะทำให้เด็กเกิดความสนใจและอยากเรียนในหน่วยนั้นๆมากยิ่งขึ้น

Technique
                     วันนี้อาจารย์ได้ใช้เทคนิคการสอนโดยการอธิบายและการบรรยาย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้ง่ายและสะดวกในการซักถามข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับการเลือกหัวเรื่องในการสอนและกระบวนการจัดการสอนในแต่ละวัน

Evaluation

Self
                     วันนี้ดิฉันมาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์สอนและอธิบายมอบหมายงานต่างๆ และตั้งใจพูดคุยปรึกษาหารือกันในกลุ่ม เกี่ยวกับเรื่องหน่วยที่จะใช้สอนและกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับหน่วยที่ได้เลือกไว้

Friends
                    วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์สอนและอธิบายมอบหมายงานต่างๆ และแต่ละกลุ่มก็แยกย้ายกันปรึกษาหารือเกี่ยวกับหน่วยที่จะใช้ในการสอนภายในกลุ่มของตนเอง

Teacher
                    วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียนร้อย มีความตั้งใจในการสรุปองค์ความรู้ของทุกกลุ่ม และมีความตั้งใจในการสอนมาก อธิบายงานได้อย่างละเอียดดีค่ะ

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน
วันที่  25  มกราคม  2559
ครั้งที่  3  เวลาเรียน  14:30 น. - 17:30 น.

Knowledge
                    วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานของตนเองให้อาจารย์และเพื่อนๆฟัง โดยออกมานำเสนอตามลำดับที่ได้จับฉลากไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ดังนี้
กลุ่มที่  1  การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่
    หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่
                    มอนเตสซอรี่เชื่อว่า การที่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการด้วยตนเอง และการซึมซาบการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมจะทำให้เด็กได้ในสิ่งที่ต้องการจากการเรียนรู้ เด็กจะได้รับเสรีภาพในขอบเขตที่จำกัด จากสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้ให้ และจะทำให้เด็กได้รับผลสำเร็จตามความต้องการของเขา
    การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่
                    อุปกรณ์การเรียนได้วางรูปแบบเอาไว้ให้เด็กได้ทำงานต่างๆ เป็นไปตามขั้นตอนงานจะกระตุ้นทำให้เด็กทำงานต่อไป การเขียนก็เป็นจุดรวมทั้งการเห็น การได้ยินและการสัมผัส การแสดงออกทางการเขียนจะผ่านขั้นตอนต่างๆ จากการสัมผัสรูปทรงเรขาคณิต สัมผัสรูปพยัญชนะ สระ จากบัตรตัวอักษรกระดาษทราย
                    ในการทำงานครูจะต้องคอยสังเกตว่าเด็กพร้อมที่จะเรียนอุปกรณ์ในขั้นต่อไปหรือยังตามลำดับยากง่ายหรือตามที่นักเรียนร้องขอ การแสดงอุปกรณ์มี 3 ขั้น ด้วยกัน คือ
ขั้นที่ 1 เชื่อมโยงการรับรู้ทางประสาทสัมผัสกับชื่อ..."นี่คือ กิ่งไม้"
ขั้นที่ 2 รู้จักชื่อของสิ่งของ..."หยิบกิ่งไม้มาให้ครูซิ"
ขั้นที่ 3 จำชื่อได้สอดคล้องกับอุปกรณ์..."นี่คือ อะไร"
                    ขั้นตอนนี้ จะใช้เมื่อเด็กเรียนรู้ชื่อของอุปกรณ์ คุณภาพหรือประสบการณ์บทเรียนนั้นจะมีลักษณะสั้น ง่าย และเป็นปรนัย ถ้าเด็กหยิบอุปกรณ์ไม่ถูกก็ต้องหยิบออกไป แล้วให้เด็กรอโอกาสทำต่อไป


Presentation Group 1.


Montessori's Classroom.


Media.


Activity.

กลุ่มที่  2  การจัดการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ
    หลักการสอน
                    หัวใจของการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ คือ การสร้างความสมดุลของจิตมนุษย์ 3 ประการ ได้แก่ ความคิด ความรู้สึกและการกระทำ โดยไม่มีการรบกวนจากเทคโนโลยีภายนอก ความสงบทางจิตใจจะช่วยให้เด็กเรียนรู้จากการใช้วินัยในตนเอง
    วิธีจัดการเรียนการสอน
                    การเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟเป็นวิธีการตามแบบธรรมชาติ เป็นไปตามบรรยากาศของชุมชนและตารางกิจกรรมประจำวันที่ครูและผู้เรียนจะเรียนรู้ร่วมกันตามความสนใจของเด็ก วิธีการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการจัดกระทำทั้งระบบตั้งแต่บรรยากาศของโรงเรียน สิ่งแวดล้อมและห้องเรียนต้องเป็นไปตามวิถีธรรมชาติ รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของครู ในขั้นตอนการสอนของครูจะมีลักษณะเฉพาะต่างจากการเรียนการสอนแบบอื่นๆ ตรงกระตุ้นการเรียนรู้เริ่มจากการแสดงแบบให้เด็กเห็นตามบรรยากาศที่จูงใจ
    โรงเรียนแนวการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ
                   เป็นแนวการศึกษาที่บูรณาการวิชาการไปกับกิจกรรมต่างๆ โดยมีครูคอยดูแลและอำนวยความสะดวก เน้นการจัดบรรยากาศในการเรียนการสอนที่เน้นความงดงามของธรรมชาติทั้งในกลางแจ้งและในห้องเรียน โดยเชื่อว่าช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี เพื่อพัฒนาให้เด็กเป็นมนุษย์ที่มีบุคลิกภาพที่สมดุลกลมกลืนไปกับโลกและสิ่งแวดล้อม และได้ใช้พลังงานทุกด้านอย่างพอเหมาะ
    สภาพแวดล้อมในโรงเรียนวอลดอร์ฟ
                   รูดอร์ฟ สไตเนอร์ นักปรัชญาชาวเยอรมัน ผู้ริเริ่มแนวการเรียนการสอนแนววอลดอร์ฟเชื่อว่า สิ่งแวดล้อมที่ดีจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี โดยเฉพาะเด็กๆ ที่มีจิตใจละเอียดอ่อนจะซึมซับสิ่งแวดล้อมและเรียนรู้ได้ง่าย ดังนั้นการจัดบรรยากาศทั้งในและนอกชั้นเรียนจึงเป็นเรื่องสำคัญ มีการเน้นความงดงามตามธรรมชาติ เช่น การจัดสีที่นุ่มนวล แสงสว่างจากธรรมชาติที่ไม่จัดจ้า ตลอดจนเสียงที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม เช่น นกร้อง ใบไม้ไหว น้ำไหลรินหรือเสียงดนตรีที่ไพเราะจะสร้างความรู้สึกอบอุ่น อ่อนโยนและสดชื่นให้เกิดขึ้นในจิตใจเด็ก เด็กจะมีพลัง ตื่นตัว และมีสมาธิในการเรียนรู้ได้ไม่ยาก


Presentation Group 2. 

กลุ่มที่  3  การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach)
    ความหมาย
                    หมายถึง วิธีการสอนรูปแบบหนึ่งที่ได้ให้โอกาสเด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยการสืบค้นข้อมูลอย่างลึกในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ มีค่าต่อการเรียนรู้ การสืบค้นอาจทำโดยเด็กกลุ่มเล็กๆ หรือเด็กทั้งชั้นร่วมกันหรืออาจเป็นเพียงเด็กคนใดคนหนึ่ง เพื่อหาคำตอบจากคำถามที่เด็กร่วมกันคิดด้วยกันกับเพื่อนหรือร่วมกันคิดกับครูและทำให้เกิดกระบวนการสืบค้นขึ้นมา
ขั้นที่ 1 การอภิปราย
                   ในงานโครงการครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็กและช่วยให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การพบปะสนทนากันในกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้นทำให้เด็กมีโอกาสที่จะอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
ขั้นที่ 2 การศึกษานอกสถานที่หรืองานในภาคสนาม
                  เป็นกระบวนการที่สำคัญของการทำโครงการประสบการณ์ในระยะแรกครูอาจพาไปศึกษานอกห้องเรียน เรียนรู้สิ่งก่อสร้างต่างๆที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน เช่น ร้านค้า ถนนหนทาง ป้ายสัญญาณ งานบริการต่างๆ ฯลฯ จะช่วยให้เด็กเข้าใจโลก มีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ ซึ่งถือเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ขั้นแรกของงานศึกษาค้นคว้า
ขั้นที่ 3 การนำเสนอประสบการณ์เดิม
                  เด็กสามารถทบทวนประสบการณ์เดิมในหัวเรื่องที่สนใจ มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน รวมทั้งแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้เด็กแต่ละคนสามารถที่จะเสนอประสบการณ์ที่ตนมีให้เพื่อนในชั้นได้รู้ด้วยวิธีการอันหลากหลายเสมือนเป็นการพัฒนาทักษะเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพ การเขียน การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ การเล่นบทบาทสมมติและการก่อสร้างแบบต่างๆ
ขั้นที่ 4 การสืบค้น
                 งานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่างหลากหลายตามหัวเรื่องที่สนใจเด็กสามารถสัมภาษณ์พ่อแม่ ผู้ปกครองของตนเอง บุคคลในครอบครัว เพื่อนนอกโรงเรียน สามารถหาคำตอบของตนด้วยการศึกษานอกสถานที่ สัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นที่มีความรอบรู้ในหัวเรื่อง อาจสำรวจ วิเคราะห์วัตถุสิ่งของตนเอง เขียนโครงร่างหรือใช้แว่นขยายส่องดูวัตถุต่างๆ หรืออาจใช้หนังสือในชั้นเรียนหรือในห้องสมุดทำการค้นคว้า
ขั้นที่ 5 การจัดแสดง
                การจัดแสดงทำได้หลายรูปแบบ อาจใช้ฝาผนังหรือป้ายจัดแสดงงานของเด็กเป็นการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ที่ได้จากการสืบค้นแก่เพื่อนในชั้น ครูสามารถให้เด็กในชั้นได้รับทราบความก้าวหน้าในการสืบค้นโดยจัดให้มีการอภิปรายหรือการจัดแสดงทั้งจะเป็นโอกาสให้เด็กและครูได้เล่าเรื่องงานโครงการที่ทำแก่ผู้มาเยี่ยมเยียนโรงเรียนอีกด้วย


Presentation Group 3.


Project Approach "Fish".

กลุ่มที่  4  การจัดการเรียนการสอนแบบพหุปัญญา
    ความหมาย
                ความสามารถในการค้นหาความรู้ แก้ปัญหาและสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าต่อสังคม มี 8 ด้าน
1. ปัญญาด้านดนตรี
2. ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย
3. ปัญญาด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์
4. ปัญญาด้านภาษา
5. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์
6. ปัญญาด้านการเข้ากับผู้อื่น
7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
8. ปัญญาด้านความเข้าใจในธรรมชาติ


Presentation Group 4.


Activity.

กลุ่มที่  5  การจัดการเรียนการสอนแบบ STEM (กลุ่มของดิฉัน)
    ความหมาย
                คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน ดังนั้น สะเต็มศึกษาจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการต่อยอดหลักสูตร โดยบูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ (หรือกระบวนการทางเทคโนโลยี) เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงและการประกอบอาชีพในอนาคต สะเต็มศึกษาจึงส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมหรือโครงงานที่มุ่งแก้ไขปัญหาที่พบเห็นในชีวิตจริง เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ ทักษะชีวิต ความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมหรือโครงงานสะเต็มจะมีความพร้อมในการปฏิบัติงานที่ต้องใช้องค์ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคการผลิตและการบริการที่สำคัญต่ออนาคตของประเทศ อนึ่งการทำกิจกรรมหรือโครงงานสะเต็มไม่ได้จำกัดอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี แต่สามารถนำความรู้ในวิชาอื่น เช่น ศิลปะ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สุขศึกษา พลศึกษา เป็นต้น มาบูรณาการได้อีกด้วย


Presentation Group 5.


Activity.

กลุ่มที่  6  การจัดการเรียนการสอนแบบ BBL (Brain - Based Learning)
    แนวทางการจัดกระบวนการและสื่อการเรียนรู้แบบ Brain - Based Learning สำหรับโรงเรียน
1. จัดสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นความสนใจ กระตุ้นการเรียนรู้
2. สถานที่สำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มร่วมกัน
3. จัดให้มีการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน มีการเคลื่อนไหวกระตุ้นสมองส่วนควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อกับสมองส่วนหน้า
4. ทุกส่วนของโรงเรียนจัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เรียนที่ไหนก็ได้
5. เฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่างๆ
6. จัดสถานที่หลากหลายที่มีรูปทรง สี แสง ช่อง รู
7. เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมบ่อยๆ เพื่อให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างหลากหลายจะกระตุ้นการทำงานของสมอง
8. จัดให้มีวัสดุต่างๆ ที่กระตุ้นการเรียนรู้ พัฒนาการต่างๆ
9. กระบวนการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น เหมาะสมกับสองของแต่ละคนและสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป
10. จัดให้มีสถานที่สงบและสถานที่สำหรับทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
11. จัดให้มีที่ส่วนตัว เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของตน
12. ต้องหาวิธีที่จะให้ชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้มากที่สุด สนามเด็กเล่นในชุมชน แหล่งเรียนรู้ในชุมชนและทำให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต 


Presentation Group 6.


Activity.


Amazing Bridge.


Yummy Sandwich.

Application
                     ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย โดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนทั้ง 6 ชนิด ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เหมาะสมกับบริบทการสอนของแต่ละโรงเรียน และดิฉันจะนำสิ่งที่ได้เรียนในวันนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่เด็กปฐมวัยอย่างสูงสุด การสอนไม่ควรเน้นทฤษฎีอย่างเดียว ควรสอนให้เด็กรู้จักการทดลอง การปฏิบัติด้วยตนเองจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้นและเด็กจะสามารถจดจำประสบการณ์เดิมได้นานและได้เพิ่มประสบการณ์เรียนรู้ที่หลากหลายมากขึ้น

Technique
                   วันนี้นักศึกษาได้นำเสนองานโดยการบรรยายและใช้สื่อมัลติมีเดีย (Power Point) ประกอบการนำเสนอ เพื่อที่จะให้อาจารย์และเพื่อนสามารถรับข้อมูลที่นำเสนอได้ง่าย รวดเร็วและเข้าใจในเนื้อหาที่ได้นำเสนอ

Evaluation

Self
                   วันนี้ดิฉันมาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองาน ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์ให้คำแนะนำติ - ชม หลังจบการนำเสนอ รู้สึกตื่นเต้นมากที่นำเสนองานหน้าห้องในวันนี้ จากวันนี้ได้เห็นข้อบกพร่องหลายอย่างในการนำเสนองานทั้งกลุ่มของตนเองและกลุ่มของเพื่อนๆ ที่สำคัญต้องมีการเตรียมตัวก่อนการนำเสนอมาให้ดี จะทำให้เราไม่ประหม่าและมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น

Friends
                   วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่มาเรียนทันเวลา มีบางคนที่มาสาย ส่วนใหญ่แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย แต่บางคนก็ใส่กระโปรงสั้น ใส่เสื้อรัดรูปจนเกินไป เพื่อนๆทุกกลุ่มมีความตั้งใจในการนำเสนองาน แต่ละกลุ่มก็มีการเตรียมตัวมาอย่างดี และแต่ละกลุ่มมีกิจกรรมหลังการนำเสนอ ซึ่งแต่ละกิจกรรมก็มีความน่าสนใจแตกต่างกัน และยังให้เพื่อนในห้องร่วมทำกิจกรรมกันตามความสมัครใจอีกด้วย

Teacher
                   วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังนักศึกษาทุกกลุ่มนำเสนองาน พร้อมให้คำแนะนำติ - ชม เพื่อให้นักศึกษานำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น หลังจากที่ทุกกลุ่มนำเสนองานจบ อาจารย์ก็ได้สรุปองค์ความรู้ที่สำคัญของแต่ละกลุ่มให้นักศึกษาฟัง อาจารย์ยังเน้นว่าต้องอธิบายขณะทำกิจกรรมให้ละเอียดทีละขั้นตอน ต้องหัดวิเคราะห์ หาส่วนประกอบย่อยให้เป็นองค์รวมให้ได้ 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน
วันที่  25  มกราคม  2559 (ชดเชยวันพฤหัสบดีที่  21  มกราคม  2559)
ครั้งที่  2  เวลาเรียน  14:30 น. - 17:30 น.

Knowledge
                    วันนี้อาจารย์ได้กำหนดหัวข้อให้นักศึกษาทั้งหมด 6 หัวข้อ เพื่อให้นักศึกษาไปแบ่งกลุ่มกันทำรายงาน ซึ่งต้องประกอบไปด้วยรูปเล่มรายงาน ไฟล์งานเป็น Power Point และไฟล์งานเป็น CD โดยให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกัน กลุ่มละประมาณ 5 - 6 คน ในการทำงานกลุ่มชิ้นนี้
หัวข้อที่ใช้ในการทำงานของแต่ละกลุ่ม
1. การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่
2. การจัดการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ
3. การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach)
4. การจัดการเรียนการสอนแบบพหุปัญญา
5. การจัดการเรียนการสอนแบบ STEM
6. การจัดการเรียนการสอนแบบ BBL (Brain - Based Learning)


Timetable

Application
                     ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม และจะนำความรู้ไปศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดการเข้าใจในเนื้อหาการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น

Technique
                     วันนี้อาจารย์ได้ใช้เทคนิคการสอนโดยการอธิบายและบรรยาย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้ง่ายและสะดวกในการซักถามข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับการนำเสนองานการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ

Evaluation

Self
                     วันนี้ดิฉันเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อยและตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับการนำเสนองานการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆอย่างดีค่ะ

Friends
                     วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย บางคนมาสายและคุยกันเสียงดังขณะที่อาจารย์กำลังอธิบายงานการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ

Teacher
                     วันนี้อาจารย์ถึงห้องเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจอธิบายให้นักศึกษาฟัง อธิบายวิธีการทำงานอย่างละเอียดและรับฟังข้อเสนอแนะต่างๆจากนักศึกษาอย่างดี



บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

บันทึกอนุทิน
วันที่  14  มกราคม  2559
ครั้งที่  1  เวลาเรียน  14:30 น. - 17:30 น.

Knowledge
                    วันนี้เป็นครั้งแรกที่ได้เรียนในรายวิชานี้ อาจารย์ได้ชี้แจงแนวการสอน (Course Syllabus) ให้แก่นักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้รู้ว่าวิชานี้เรียนเกี่ยวกับอะไร และควรปฏิบัติตัวอย่างไรในการเรียนวิชานี้
ข้อตกลงการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
1. แต่งกายสุภาพถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัยและคณะศึกษาศาสตร์
2. รักษามารยาทและวินัยอย่างเคร่งครัด
3. หากเข้าห้องเรียนช้าเกิน 15 นาที ถือว่ามาสาย ถ้ามาสายเกิน 2 ครั้ง ถือว่าขาด 1 ครั้ง
4. ต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80 % ของเวลาเรียนทั้งหมด
5. หากขาดเรียนต้องมีใบลา หากลาป่วยต้องมีใบรับรองแพทย์
6. ส่งงานตรงเวลาทุกครั้ง
7. ปิดโทรศัพท์เครื่องมือสื่อสารทุกชนิดขณะที่กำลังเรียน


Course Syllabus

Application
                     ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้ในการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามข้อตกลงในการเรียนรายวิชานี้อย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะได้ไม่โดนหักคะแนนและปฏิบัติตนให้เหมือนเพื่อนคนอื่นๆด้วยความเสมอภาค ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นค่ะ

Technique
                   วันนี้อาจารย์ได้อธิบายแนวการสอน (Course Syllabus) โดยการบรรยายและอภิปราย เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายและสะดวกในการซักถามข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับการเรียนการสอนในรายวิชานี้

Evaluation

Self
                   วันนี้ดิฉันมาสายเล็กน้อย ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายแนวการสอน (Course Syllabus) แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย

Friends
                   วันนี้เพื่อนๆแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย บางคนมาสาย ส่วนใหญ่ตั้งใจฟังอาจารย์ บางกลุ่มก็คุยกันขณะที่อาจารย์กำลังอธิบายแนวการสอน (Course Syllabus)

Teacher
                   วันนี้อาจารย์มาถึงห้องเรียนก่อนเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีความตั้งใจในการอธิบายแนวการสอน (Course Syllabus) อย่างละเอียด และอธิบายให้นักศึกษาทราบว่า รายวิชานี้ต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง