วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน
วันที่  25  มกราคม  2559
ครั้งที่  3  เวลาเรียน  14:30 น. - 17:30 น.

Knowledge
                    วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานของตนเองให้อาจารย์และเพื่อนๆฟัง โดยออกมานำเสนอตามลำดับที่ได้จับฉลากไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ดังนี้
กลุ่มที่  1  การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่
    หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่
                    มอนเตสซอรี่เชื่อว่า การที่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการด้วยตนเอง และการซึมซาบการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมจะทำให้เด็กได้ในสิ่งที่ต้องการจากการเรียนรู้ เด็กจะได้รับเสรีภาพในขอบเขตที่จำกัด จากสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้ให้ และจะทำให้เด็กได้รับผลสำเร็จตามความต้องการของเขา
    การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่
                    อุปกรณ์การเรียนได้วางรูปแบบเอาไว้ให้เด็กได้ทำงานต่างๆ เป็นไปตามขั้นตอนงานจะกระตุ้นทำให้เด็กทำงานต่อไป การเขียนก็เป็นจุดรวมทั้งการเห็น การได้ยินและการสัมผัส การแสดงออกทางการเขียนจะผ่านขั้นตอนต่างๆ จากการสัมผัสรูปทรงเรขาคณิต สัมผัสรูปพยัญชนะ สระ จากบัตรตัวอักษรกระดาษทราย
                    ในการทำงานครูจะต้องคอยสังเกตว่าเด็กพร้อมที่จะเรียนอุปกรณ์ในขั้นต่อไปหรือยังตามลำดับยากง่ายหรือตามที่นักเรียนร้องขอ การแสดงอุปกรณ์มี 3 ขั้น ด้วยกัน คือ
ขั้นที่ 1 เชื่อมโยงการรับรู้ทางประสาทสัมผัสกับชื่อ..."นี่คือ กิ่งไม้"
ขั้นที่ 2 รู้จักชื่อของสิ่งของ..."หยิบกิ่งไม้มาให้ครูซิ"
ขั้นที่ 3 จำชื่อได้สอดคล้องกับอุปกรณ์..."นี่คือ อะไร"
                    ขั้นตอนนี้ จะใช้เมื่อเด็กเรียนรู้ชื่อของอุปกรณ์ คุณภาพหรือประสบการณ์บทเรียนนั้นจะมีลักษณะสั้น ง่าย และเป็นปรนัย ถ้าเด็กหยิบอุปกรณ์ไม่ถูกก็ต้องหยิบออกไป แล้วให้เด็กรอโอกาสทำต่อไป


Presentation Group 1.


Montessori's Classroom.


Media.


Activity.

กลุ่มที่  2  การจัดการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ
    หลักการสอน
                    หัวใจของการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ คือ การสร้างความสมดุลของจิตมนุษย์ 3 ประการ ได้แก่ ความคิด ความรู้สึกและการกระทำ โดยไม่มีการรบกวนจากเทคโนโลยีภายนอก ความสงบทางจิตใจจะช่วยให้เด็กเรียนรู้จากการใช้วินัยในตนเอง
    วิธีจัดการเรียนการสอน
                    การเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟเป็นวิธีการตามแบบธรรมชาติ เป็นไปตามบรรยากาศของชุมชนและตารางกิจกรรมประจำวันที่ครูและผู้เรียนจะเรียนรู้ร่วมกันตามความสนใจของเด็ก วิธีการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการจัดกระทำทั้งระบบตั้งแต่บรรยากาศของโรงเรียน สิ่งแวดล้อมและห้องเรียนต้องเป็นไปตามวิถีธรรมชาติ รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของครู ในขั้นตอนการสอนของครูจะมีลักษณะเฉพาะต่างจากการเรียนการสอนแบบอื่นๆ ตรงกระตุ้นการเรียนรู้เริ่มจากการแสดงแบบให้เด็กเห็นตามบรรยากาศที่จูงใจ
    โรงเรียนแนวการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ
                   เป็นแนวการศึกษาที่บูรณาการวิชาการไปกับกิจกรรมต่างๆ โดยมีครูคอยดูแลและอำนวยความสะดวก เน้นการจัดบรรยากาศในการเรียนการสอนที่เน้นความงดงามของธรรมชาติทั้งในกลางแจ้งและในห้องเรียน โดยเชื่อว่าช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี เพื่อพัฒนาให้เด็กเป็นมนุษย์ที่มีบุคลิกภาพที่สมดุลกลมกลืนไปกับโลกและสิ่งแวดล้อม และได้ใช้พลังงานทุกด้านอย่างพอเหมาะ
    สภาพแวดล้อมในโรงเรียนวอลดอร์ฟ
                   รูดอร์ฟ สไตเนอร์ นักปรัชญาชาวเยอรมัน ผู้ริเริ่มแนวการเรียนการสอนแนววอลดอร์ฟเชื่อว่า สิ่งแวดล้อมที่ดีจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี โดยเฉพาะเด็กๆ ที่มีจิตใจละเอียดอ่อนจะซึมซับสิ่งแวดล้อมและเรียนรู้ได้ง่าย ดังนั้นการจัดบรรยากาศทั้งในและนอกชั้นเรียนจึงเป็นเรื่องสำคัญ มีการเน้นความงดงามตามธรรมชาติ เช่น การจัดสีที่นุ่มนวล แสงสว่างจากธรรมชาติที่ไม่จัดจ้า ตลอดจนเสียงที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม เช่น นกร้อง ใบไม้ไหว น้ำไหลรินหรือเสียงดนตรีที่ไพเราะจะสร้างความรู้สึกอบอุ่น อ่อนโยนและสดชื่นให้เกิดขึ้นในจิตใจเด็ก เด็กจะมีพลัง ตื่นตัว และมีสมาธิในการเรียนรู้ได้ไม่ยาก


Presentation Group 2. 

กลุ่มที่  3  การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach)
    ความหมาย
                    หมายถึง วิธีการสอนรูปแบบหนึ่งที่ได้ให้โอกาสเด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยการสืบค้นข้อมูลอย่างลึกในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ มีค่าต่อการเรียนรู้ การสืบค้นอาจทำโดยเด็กกลุ่มเล็กๆ หรือเด็กทั้งชั้นร่วมกันหรืออาจเป็นเพียงเด็กคนใดคนหนึ่ง เพื่อหาคำตอบจากคำถามที่เด็กร่วมกันคิดด้วยกันกับเพื่อนหรือร่วมกันคิดกับครูและทำให้เกิดกระบวนการสืบค้นขึ้นมา
ขั้นที่ 1 การอภิปราย
                   ในงานโครงการครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็กและช่วยให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การพบปะสนทนากันในกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้นทำให้เด็กมีโอกาสที่จะอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
ขั้นที่ 2 การศึกษานอกสถานที่หรืองานในภาคสนาม
                  เป็นกระบวนการที่สำคัญของการทำโครงการประสบการณ์ในระยะแรกครูอาจพาไปศึกษานอกห้องเรียน เรียนรู้สิ่งก่อสร้างต่างๆที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน เช่น ร้านค้า ถนนหนทาง ป้ายสัญญาณ งานบริการต่างๆ ฯลฯ จะช่วยให้เด็กเข้าใจโลก มีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ ซึ่งถือเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ขั้นแรกของงานศึกษาค้นคว้า
ขั้นที่ 3 การนำเสนอประสบการณ์เดิม
                  เด็กสามารถทบทวนประสบการณ์เดิมในหัวเรื่องที่สนใจ มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน รวมทั้งแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้เด็กแต่ละคนสามารถที่จะเสนอประสบการณ์ที่ตนมีให้เพื่อนในชั้นได้รู้ด้วยวิธีการอันหลากหลายเสมือนเป็นการพัฒนาทักษะเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพ การเขียน การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ การเล่นบทบาทสมมติและการก่อสร้างแบบต่างๆ
ขั้นที่ 4 การสืบค้น
                 งานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่างหลากหลายตามหัวเรื่องที่สนใจเด็กสามารถสัมภาษณ์พ่อแม่ ผู้ปกครองของตนเอง บุคคลในครอบครัว เพื่อนนอกโรงเรียน สามารถหาคำตอบของตนด้วยการศึกษานอกสถานที่ สัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นที่มีความรอบรู้ในหัวเรื่อง อาจสำรวจ วิเคราะห์วัตถุสิ่งของตนเอง เขียนโครงร่างหรือใช้แว่นขยายส่องดูวัตถุต่างๆ หรืออาจใช้หนังสือในชั้นเรียนหรือในห้องสมุดทำการค้นคว้า
ขั้นที่ 5 การจัดแสดง
                การจัดแสดงทำได้หลายรูปแบบ อาจใช้ฝาผนังหรือป้ายจัดแสดงงานของเด็กเป็นการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ที่ได้จากการสืบค้นแก่เพื่อนในชั้น ครูสามารถให้เด็กในชั้นได้รับทราบความก้าวหน้าในการสืบค้นโดยจัดให้มีการอภิปรายหรือการจัดแสดงทั้งจะเป็นโอกาสให้เด็กและครูได้เล่าเรื่องงานโครงการที่ทำแก่ผู้มาเยี่ยมเยียนโรงเรียนอีกด้วย


Presentation Group 3.


Project Approach "Fish".

กลุ่มที่  4  การจัดการเรียนการสอนแบบพหุปัญญา
    ความหมาย
                ความสามารถในการค้นหาความรู้ แก้ปัญหาและสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าต่อสังคม มี 8 ด้าน
1. ปัญญาด้านดนตรี
2. ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย
3. ปัญญาด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์
4. ปัญญาด้านภาษา
5. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์
6. ปัญญาด้านการเข้ากับผู้อื่น
7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
8. ปัญญาด้านความเข้าใจในธรรมชาติ


Presentation Group 4.


Activity.

กลุ่มที่  5  การจัดการเรียนการสอนแบบ STEM (กลุ่มของดิฉัน)
    ความหมาย
                คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน ดังนั้น สะเต็มศึกษาจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการต่อยอดหลักสูตร โดยบูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ (หรือกระบวนการทางเทคโนโลยี) เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงและการประกอบอาชีพในอนาคต สะเต็มศึกษาจึงส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมหรือโครงงานที่มุ่งแก้ไขปัญหาที่พบเห็นในชีวิตจริง เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ ทักษะชีวิต ความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมหรือโครงงานสะเต็มจะมีความพร้อมในการปฏิบัติงานที่ต้องใช้องค์ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคการผลิตและการบริการที่สำคัญต่ออนาคตของประเทศ อนึ่งการทำกิจกรรมหรือโครงงานสะเต็มไม่ได้จำกัดอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี แต่สามารถนำความรู้ในวิชาอื่น เช่น ศิลปะ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สุขศึกษา พลศึกษา เป็นต้น มาบูรณาการได้อีกด้วย


Presentation Group 5.


Activity.

กลุ่มที่  6  การจัดการเรียนการสอนแบบ BBL (Brain - Based Learning)
    แนวทางการจัดกระบวนการและสื่อการเรียนรู้แบบ Brain - Based Learning สำหรับโรงเรียน
1. จัดสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นความสนใจ กระตุ้นการเรียนรู้
2. สถานที่สำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มร่วมกัน
3. จัดให้มีการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน มีการเคลื่อนไหวกระตุ้นสมองส่วนควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อกับสมองส่วนหน้า
4. ทุกส่วนของโรงเรียนจัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เรียนที่ไหนก็ได้
5. เฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่างๆ
6. จัดสถานที่หลากหลายที่มีรูปทรง สี แสง ช่อง รู
7. เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมบ่อยๆ เพื่อให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างหลากหลายจะกระตุ้นการทำงานของสมอง
8. จัดให้มีวัสดุต่างๆ ที่กระตุ้นการเรียนรู้ พัฒนาการต่างๆ
9. กระบวนการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น เหมาะสมกับสองของแต่ละคนและสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป
10. จัดให้มีสถานที่สงบและสถานที่สำหรับทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
11. จัดให้มีที่ส่วนตัว เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของตน
12. ต้องหาวิธีที่จะให้ชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้มากที่สุด สนามเด็กเล่นในชุมชน แหล่งเรียนรู้ในชุมชนและทำให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต 


Presentation Group 6.


Activity.


Amazing Bridge.


Yummy Sandwich.

Application
                     ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย โดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนทั้ง 6 ชนิด ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เหมาะสมกับบริบทการสอนของแต่ละโรงเรียน และดิฉันจะนำสิ่งที่ได้เรียนในวันนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่เด็กปฐมวัยอย่างสูงสุด การสอนไม่ควรเน้นทฤษฎีอย่างเดียว ควรสอนให้เด็กรู้จักการทดลอง การปฏิบัติด้วยตนเองจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้นและเด็กจะสามารถจดจำประสบการณ์เดิมได้นานและได้เพิ่มประสบการณ์เรียนรู้ที่หลากหลายมากขึ้น

Technique
                   วันนี้นักศึกษาได้นำเสนองานโดยการบรรยายและใช้สื่อมัลติมีเดีย (Power Point) ประกอบการนำเสนอ เพื่อที่จะให้อาจารย์และเพื่อนสามารถรับข้อมูลที่นำเสนอได้ง่าย รวดเร็วและเข้าใจในเนื้อหาที่ได้นำเสนอ

Evaluation

Self
                   วันนี้ดิฉันมาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองาน ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์ให้คำแนะนำติ - ชม หลังจบการนำเสนอ รู้สึกตื่นเต้นมากที่นำเสนองานหน้าห้องในวันนี้ จากวันนี้ได้เห็นข้อบกพร่องหลายอย่างในการนำเสนองานทั้งกลุ่มของตนเองและกลุ่มของเพื่อนๆ ที่สำคัญต้องมีการเตรียมตัวก่อนการนำเสนอมาให้ดี จะทำให้เราไม่ประหม่าและมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น

Friends
                   วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่มาเรียนทันเวลา มีบางคนที่มาสาย ส่วนใหญ่แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย แต่บางคนก็ใส่กระโปรงสั้น ใส่เสื้อรัดรูปจนเกินไป เพื่อนๆทุกกลุ่มมีความตั้งใจในการนำเสนองาน แต่ละกลุ่มก็มีการเตรียมตัวมาอย่างดี และแต่ละกลุ่มมีกิจกรรมหลังการนำเสนอ ซึ่งแต่ละกิจกรรมก็มีความน่าสนใจแตกต่างกัน และยังให้เพื่อนในห้องร่วมทำกิจกรรมกันตามความสมัครใจอีกด้วย

Teacher
                   วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังนักศึกษาทุกกลุ่มนำเสนองาน พร้อมให้คำแนะนำติ - ชม เพื่อให้นักศึกษานำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น หลังจากที่ทุกกลุ่มนำเสนองานจบ อาจารย์ก็ได้สรุปองค์ความรู้ที่สำคัญของแต่ละกลุ่มให้นักศึกษาฟัง อาจารย์ยังเน้นว่าต้องอธิบายขณะทำกิจกรรมให้ละเอียดทีละขั้นตอน ต้องหัดวิเคราะห์ หาส่วนประกอบย่อยให้เป็นองค์รวมให้ได้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น