บันทึกอนุทิน
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 14:30 น. - 17:30 น.
Knowledge
วันนี้อาจารย์ได้ตรวจดูแผนการจัดประสบการณ์ของแต่ละกลุ่ม พร้อมกับให้คำแนะนำโดยรวม ดังนี้ คือ ครูต้องมีเทคนิควิธีการในการให้เด็กจับกลุ่มกัน เช่น รถจักรยานชนกับรถตุ๊กตุ๊กนับรวมกันได้กี่ล้อ เด็กก็จะนับล้อและจับกลุ่มกันตามจำนวนล้อหรือไปซื้อไก่ที่ตลาด 2 ตัว นับรวมกันได้กี่ขา เด็กก็จะจับกลุ่มกันตามจำนวนขาไก่ วิธีนี้จะช่วยฝึกให้เด็กได้คิดนับล้อรถและนับขาไก่ แทนการนับตัวเลขธรรมดา ก่อนที่จะสร้างข้อตกลงกับเด็ก ครูต้องให้เด็กหาพื้นที่ให้ตัวเองก่อน เพื่อให้เด็กไม่ชนกันขณะทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ถ้าเด็กชนกันก็ให้เด็กขยับให้ไม่ชนกัน และนอกจากนี้อาจารย์ยังให้แต่ละกลุ่มออกมาทดลองสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้ดู และอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำแต่ละกลุ่มในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ดังนี้
1. หน่วย ยานพาหนะ
ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
ถ้าเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย คำบรรยายต้องใส่ไว้ในภาคผนวกด้วย ครูต้องให้เด็กเคลื่อนไหวปกติเป็นอันดับแรก เพื่อเปรียบเทียบกับจังหวะเร็ว - ช้า จังหวะปกติจะเป็นเกณฑ์ จังหวะปกติ หมายถึง การเดินธรรมดา ถ้าสอนอนุบาล 1 ให้อธิบายการเคาะจังหวะด้วย แต่ถ้าสอนอนุบาล 2 ไม่ต้องอธิบายจังหวะการเคาะช้า - เร็วให้เด็กฟัง เพราะ เด็กอนุบาล 2 รู้จักสัญญาณการเคาะอยู่แล้ว การที่วิ่งแล้วหยุดนิ่ง คือ การที่จะให้เด็กเตรียมความพร้อมเรื่อง การทรงตัว ครูต้องให้เด็กทำทีละอย่าง ไม่ต้องทำหลายอย่าง เพื่อที่จะสามารถเกฌบไว้สอนวันอื่นได้ เวลาไปสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเด็กอนุบาลจริงๆ ห้ามใช้เวลาเกิน 20 นาที
2. หน่วย ผัก
ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
เวลาสอนต้องนึกถึงหลักความเป็นจริงว่าผักมันเคลื่อนที่ไม่ได้ ครูต้องหาวิธีการให้ผักเคลื่อนที่ได้ เช่น ให้เด็กเป็นคนขายผักนำผักติดตัวไปด้วย เด็กก็จะมีวิธีการถือผักที่แตกต่างกัน โดยครูอาจบอกว่า ไม่ให้เด็กใช้มือถือผักเด็กๆจะมีวิธีอย่างไรที่จะนำผักติดตัวไปด้วย เช่น หนีบไว้ที่แขน คาบไว้ทีี่ปาก หนีบไว้ที่ขา เป็นต้น ครูต้องสอนตามแผนการจัดประสบการณ์ที่เขียนไว้
3. หน่วย ผีเสื้อ
ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
ครูต้องฝึกและรู้จักวิธีการเคาะจังหวะที่หลากหลาย ให้เด็กทำตามข้อตกลงที่ครูได้บอกไว้
4. หน่วย เห็ด (กลุ่มของดิฉัน)
ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
ครูต้องฝึกการเคาะให้เป็นจังหวะ และฝึกการเคาะที่หลากหลาย ถ้าจะให้เด็กเต้นตามจินตนาการ ครูไม่จำเป็นต้องทำท่าเต้นให้เด็กดูก่อนก็ได้
Teacher is checking lesson plans.
My friend is teaching Motor and Rhythmic Activities.
Application
ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้ประโยชน์ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้ตรงตามหน่วย ตรงตามวัตถุประสงค์ที่เราได้ตั้งไว้ ไม่ว่าจะสอนอะไรก็ต้องเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้ละเอียด สอนให้ตรงตามแผนการจัดประสบการณ์ที่เราได้เขียนไว้
Technique
วันนี้อาจารย์ได้ใช้เทคนิคการสอนโดยการอธิบาย และการบรรยาย เนื่องจากวันนี้มีการทดลองสอนการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ จึงต้องใช้เทคนิคนี้ อาจารย์ได้บรรยายความรู้และเทคนิควิธีการต่างๆให้นักศึกษาฟัง และได้อธิบายในสิ่งที่นักศึกษาไม่เข้าใจให้เข้าใจกระจ่างขึ้น อาจารย์ได้บรรยายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น สะดวกต่อการซักถามข้อสงสัยต่างๆ
Evaluation
Self
วันนี้ดิฉันเข้าเรียนทันเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ตั้งใจฟังคำอธิบายและข้อแนะนำต่างๆจากอาจารย์ เพือสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้ ตั้งใจฟัง ดูและช่วยออกไปมีส่วนร่วมขณะที่เพื่อนกำลังสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และตั้งใจเรียนค่ะ
Friends
วันนี้มีเพื่อนขาดเรียนหลายคน ส่วนใหญ่แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย บางคนใส่กระโปรงสั้นเกินไป บางคนใส่เสื้อรัดรูปจนเกินไป และเพื่อนส่วนใหญ่ตั้งใจดูเพื่อนสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ตั้งใจฟังคำอธิบายจากอาจารย์ แต่มีเพื่อนบางคนไม่ค่อยตั้งใจดูเพื่อนสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะและไม่ค่อยตั้งใจฟังอาจารย์
Teacher
วันนี้อาจารย์มาถึงห้องเรียนช้าเล็กน้อย อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีความตั้งใจในการตรวจแผนการจัดประสบการณ์ของแต่ละกลุ่ม ตั้งใจในการดูนักศึกษาสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะอย่างมาก พร้อมกับออกมาสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาดู เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมากยิ่งขึ้น และอาจารย์ได้ให้คำแนะนำและเทคนิคต่างๆอย่างดีในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น