วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วันที่  8  กุมภาพันธ์  2559
ครั้งที่  5  เวลาเรียน  14:30 น. - 17:30 น.

Knowledge
                    วันนี้อาจารย์ดู Mind map ของแต่ละกลุ่ม พร้อมกับให้คำแนะนำต่างๆอย่างดี
1. หน่วย ผีเสื้อ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้ 
                    ผีเสื้อต้องการอาหาร น้ำ ผีเสื้อต้องการเจริญเติบโต ถ้าสอนหน่วยที่เป็นสิ่งมีชีวิตต้องการอาหาร น้ำ ที่อยู่ และยารักษาโรค ควรแยกเป็นวงจรชีวิตของผีเสื้อ
2. หน่วย ผัก
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                    การเจริญเติบโตของผักขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด หัว กิ่ง การเขียนประโยชน์ในหน่วยนี้ต้องเขียนเป็น 2 ประเด็น คือ
    1. ต้องพูดถึงประโยชน์ของตัวผักเอง
    2. ต้องพูดถึงเกี่ยวกับประโยชน์ที่มีต่อโลกใบนี้
ประโยชน์และโทษมีเพื่อให้เด็กเห็นว่าทุกอย่างบนโลกใบนี้มีทั้งคุณและโทษ
3. หน่วย กล้วย
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                    ถ้าหัวข้อไหนที่ไม่สามารถแยกประเภทได้ ก็ไม่ต้องแยก ส่วนประกอบของกล้วยต้องมี เปลือกกล้วย เม็ด และเนื้อ หัวข้อจะใช้การถนอม การดูแลรักษาหรือการเลือกซื้อกล้วยก็ได้
4. หน่วย เห็ด (กลุ่มของดิฉัน)
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                    ให้แยกประเภทเป็น 2 กลุ่ม คือ 
    1. เห็ดที่กินได้
    2. เห็ดที่กินไม่ได้
องค์ประกอบส่วนอื่นๆ มีครบ ในหน่วยนี้ต้องเน้นการขยายพันธุ์ การดำรงชีวิตของเห็ด เพราะ เป็นจุดเด่นของตัวเห็ด ข้อควรระวัง ถ้ากินเห็ดที่กินไม่ได้จะเกิดอาการ คลื่นไส้ ตัวเหลือง หมดแรง สามารถแก้ไขได้โดยการพาไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ถ้ากินเห็ดที่มีพิษเข้าไปมาก อาจเกิดอันตรายถึงเสียชีวิตได้ ครูต้องสอนเด็กว่าถ้าเห็นเห็ดพิษแล้วห้ามกิน ต้องนำไปให้ผู้ใหญ่ดูก่อนว่าเห็ดนี้กินได้ไหม ครูต้องบอกกลิ่นของเห็ดให้ชัดเจนว่าเหม็นยังไง กลิ่นเหม็นกับกลิ่นฉุนไม่เหมือนกัน อาจจะมีกลิ่นเหม็น เหม็นสาป เหม็นเปรี้ยว ฯลฯ
5. หน่วย ยานพาหนะ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                   ประเภทของยานพาหนะทางน้ำมีมากกว่าเรือ เช่น แพ เรือดำน้ำ เรือยอร์ช เป็นต้น ต้องดูว่ายานพาหนะมีวิธีการดูแลรักษาอย่างไร เช่น ตรวจเช็คสภาพรถก่อนเดินทาง คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง เป็นต้น (ครูอยากสอนอะไร ก็ต้องให้ความรู้กับเด็กเรื่องนั้น) 
6. หน่วย ส้ม
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                   เขียน Mind map เรียงลำดับผิด ต้องเขียนชนิดก่อนเป็นอันดับแรกและต้องเขียนวนไปทางขวามือ ต้องเพิ่มหัวข้อวิธีการเลือกซื้อกับการถนอมส้มออกมาอีกหัวข้อนึง หัวข้อการประกอบอาหารให้แยกย่อยออกมาจากหัวข้อประโยชน์ การแปรรูปแยกย่อยออกมาจากหัวข้อประโยชน์ได้
สาระที่ควรเรียนรู้
                   ครูต้องเขียนออกมาให้ถูกว่าสาระที่ควรเรียนรู้ คืออะไร เช่น
- เห็ด  เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีหลายชนิด มีชื่อเรียกแตกต่างกัน มีทั้งประโยชน์และโทษ มีลักษณะแตกต่างกัน ส่วน (แนวคิด) เป็นข้อสรุปว่าสิ่งที่เรียนใช่เห็ดหรือป่าว
ประสบการณ์สำคัญ
                   คือ สิ่งที่เด็กได้ทำจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ต้องให้เด็กลงมือทำ เพราะ การลงมือทำ คือ วิธีการเรียนรู้ของเด็ก ครูต้องจัดวิธีการเรียนรู้ของเด็กให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก พัฒนาการของเด็กจะมีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแล้ว ครูต้องจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก เมื่อเด็กได้ลงมือทำ โดยมีโอกาสเลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง เด็กจะมีความสุขและมีอิสระในการเรียนรู้ การเล่นเอง การตัดสินใจเอง การลงมือทำด้วยตนเอง เรียกว่า การเล่น คือ การที่เด็กต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่อที่จะปรับตัวให้เข้ากับเพื่ิอน และกับผู้อื่นในสังคมและเพื่อที่จะจะอยู่รอดในสังคม ซึ่งประสบการณ์สำคัญมัทั้ง 4 ด้าน คือ
    1. ด้านร่างกาย
    2. ด้านอารมณ์ - จิตใจ
    3. ด้านสังคม
    4. ด้านสติปัญญา
กรอบพัฒนาการและกิจกรรม
                  ครูต้องศึกษาจากเล่มหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ว่าเด็กปฐมวัยแต่ละช่วงอายุสามารถทำอะไรได้บ้าง
บูรณาการทักษะรายวิชา
                 แต่ละรายวิชาต้องมีสิ่งที่เรียนมากมาย ครูต้องบูรณาการให้ได้หลายๆอย่าง เช่น
    1. คณิตศาสตร์ - เรขาคณิต รูปทรง รูปร่าง การแยกแยะ เรียงลำดับ นับจำนวน จัดกลุ่ม  พีชคณิต แบบรูป รูปแบบ การเก็บข้อมูลต่างๆและนำเสนอข้อมูลเป็นแผนภาพ
    2. วิทยาศาสตร์ - ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ้ได้แก่ การสังเกต (Observation)  การวัด (Measurement)  การจำแนกประเภท (Classification)  การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซและสเปซกับเวลา (Space/space relationships and space/time relationships)  การคำนวณ (Using numbers)  การจัดกระทำและการสื่อความหมายข้อมูล (Organizing data and communication)  การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring)  การพยากรณ์ (Prediction)  การตั้งสมมติฐาน (Formulating hypertheses)  การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining operationally)  การกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and controlling variables)  การทดลอง (Experimenting)  การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป (Interpreting data conclusion)  และพลังงานจนล์และพลังงานกล
    3. พลศึกษา/สุขศึกษา - ถ้าจะกินอะไรต้องล้างมือก่อน สุขภาพอนามัยต่างๆ 
    4. ศิลปะสร้างสรรค์ - ประดิษฐ์จรวดแล้วให้เด็กโยนหรือเป่าแข่งกัน แล้วใช้ฝ่ามือวัดว่าใครได้ฝ่ามือเยอะกว่ากันคนนั้นชนะ
    5. ภาษา - เขียนภาพ ธนาคารคำ การร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง สนทนากิจกรรมโต้ตอบกับครูและเพื่อน
เว็บเครือข่ายใยแมงมุม (Web กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม)
                 ต้องเขียนเรียงลำดับตามวันจันทร์ - วันศุกร์ โดยจะต้องสอดคล้องไปกับแผนและกิจกรรม 
แผนการจัดประสบการณ์
                 วัตถุประสงค์ต้องมี 4 ด้าน เน้นด้านที่เหมาะสมกับกิจกรรม
เคลื่อนไหวพื้นฐานของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
                 มีดังนี้ เดิน วิ่ง กระโดด ควบม้า ครูสามารถจัดกิจกรรมใก้เด็กเดินด้วยปลายเท้า ส้นเท้า ด้านข้างเท้า เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินที่ได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย ครูอาจเคาะแล้วให้เด็กเปลี่ยนท่าทางการเดินด้วยตนเอง เพื่อที่เด็กจะได้มีจินตนาการและมีอิสระในการทำกิจกรรม
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
                ห้ามใช้ป้ายนิเทศน์เป็นสื่อการสอน ขั้นนำให้ใช้เพลงหรือคำคล้องจองในการสอน ครูอาจนำของมาให้เด็กดู อาจให้เด็กทุกคนทายก็ได้ ถ้าใครตอบถูกก็ปรบมือให้ตัวเอง ต่อมาให้เด็กช่วยกันนับจำนวน เช่น หน่วย กล้วย ให้แยกตามชื่อของกล้วย หน่วย ส้ม ก็ให้แยกตามชื่อของส้ม เสร็จแล้วถามเด็กว่าอันไหนมากกว่ากัน ให้เด็กหยิบทีละอัน โดยหยิบจากอันแรก
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
                ทุกวันต้องวาดรูปและปั้นดินน้ำ เช่น ให้เด็กทำสมุดเล่มเล็ก โดยการวาดภาพและบรรยาย
เกมการศึกษา
เช่น จับคู่ภาพเหมือน เป็นต้น


Teacher is teaching plans.

Application
                     ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปปรับปรุงและพัฒนาการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของตนเองให้มีความถูกต้องตามระเบียบแบบแผน เพื่อที่จะนำแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยต่อไปในอนาคตค่ะ

Technique
                     วันนี้อาจารย์ได้ใช้เทคนิคการสอนโดยการอธิบาย การบรรยาย และมีการใช้สื่อมัลติมีเดีย (เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์) อาจารย์ได้บรรยายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์พูดมากยิ่งขึ้น มีความสะดวกรวดเร็วในการซักถามข้อสงสัยต่างๆ ส่วนเครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์ อาจารย์ใช้เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันทุกคนในสิ่งที่อาจารย์กำลังสอน ซึ่งทุกคนสามารถมองเห็นได้จากจอโปรเจคเตอร์ค่ะ

Evaluation

Self
                    วันนี้ดิฉันมาช้าประมาณ 15 นาที แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์กำลังสอน ตั้งใจฟังข้อเสนอแนะ คำติ - ชม ต่างๆจากอาจารย์ เพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงและพัฒนาการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้ดียิ่งๆขึ้นไป

Friends
                    วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่มาเรียนทันเวลา บางกลุ่มไม่ค่อยตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์กำลังอธิบาย ทำให้อาจารย์ต้องคอยเรียกกระตุ้นอยู่บ่อยครั้ง เพื่อนๆทุกกลุ่มมีความพยายามในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของตนเองอย่างเต็มที่

Teacher
                   วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีความตั้งใจในการสอนอย่างมาก อาจารย์อธิบายวิธีการเขียนแผนกาจัดประสบการณ์อย่างละเอียด ทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น และนอกจากนี้อาจารย์ยังมีข้อแนะนำต่างๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเขียน Mind map ต้องเขียนเรียงลำดับให้ถูก หัวข้อแรกต้องอยู่ทางขวามือ (ชนิด) แล้วค่อยแยกจัดหมวดหมู่ตามลำดับถัดไป หัวข้อไหนที่รวมกันได้ควรจับรวมกัน ต้องให้เด็กได้จัดหมวดหมู่ จัดประเภท ในแต่ละหน่วยมันจะบอกบริบทของมันเองและถ้าเราต้องการพูดอธิบายเพื่อให้อีกฝ่ายเข้าใจ โดยเน้นไปที่ข้อความที่เราพูดถึงให้ใช้ปลายปากกาหรือดินสอ

  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น