วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วันที่  28  มีนาคม  2559
ครั้งที่  13  เวลาเรียน  14:30 น. - 17:30 น.

Knowledge
                    วันนี้อาจารย์ได้ตรวจดูแผนการสอนของทุกกลุ่ม แล้วอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ โดยหลังจากที่แต่ละกลุ่มสอนในแต่ละกิจกรรมเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำต่างๆเกี่ยวกับการสอนในแต่ละกิจกรรมของทุกกลุ่ม


Teacher commenting all group.

1. หน่วย เห็ด
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  กิจกรรมเสริมประสบการณ์ - ในแผนการจัดประสบการณ์สาระที่ควรเรียนรู้ ควรเขียนอธิบายขั้นตอนการเพาะเห็ดนางฟ้าแบบสรุปสั้นๆลงไปด้วย ในการผสมส่วนผสมการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า ครูควรใส่ถุงมือหรือใช้ช้อนตัก ไม่ใช้มือเปล่า อาจจะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ แต่ครูไม่ควรมองข้าม ครูอาจให้เด็กมีส่วนร่วมได้ โดยการให้เด็กออกมาช่วยครูตักส่วนผสมใส่ลงในถุงก้อนเชื้อก็ได้ ในแผ่นชาร์ทขั้นตอนการเพาะเห็ดนางฟ้า ครูควรวาดรูปประกอบในแต่ละขั้นตอนด้วย โดยรวมสอนได้ดี (วันพุธ ผู้สอน - น.ส.ภัสสร  ศรีพวาทกุล)
                 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ - ในการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ครูไม่ควรให้เด็กเคลื่อนไหวหลายอย่าง ถ้าครูให้เด็กกระโดดแล้ว ไม่ต้องให้เด็กเดินด้วยปลายเท้าอีก ในการจัดกลุ่มการเคลื่อนไหวประกอบเพลง ครูควรใช้วิธีการจัดกลุ่มหลายๆวิธี นอกจากการให้เด็กนับเลข 1-3 เช่น การใช้สัญลักษณ์ การแจกภาพเรขาคณิตให้เด็กหรือครูอาจพูดว่า นก 2 ตัว รวมกันได้กี่ขา เป็นต้น โดยรวมสอนได้ดี (วันศุกร์ ผู้สอน - น.ส.สุนิสา  บุดดารวม)


I teaching title mushroom in experience-enhancement activities.


My friend teaching title mushroom in motor and rhythmic activities.

2. หน่วย ผัก
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  กิจกรรมเสริมประสบการณ์ - ควรใส่หัวข้อพืชกินดอกลงไปในการสอนด้วย การนำเสนอควรมีประเภทของผักให้ครบทุกประเภทตามที่เขียนไว้ในแผนการจัดประสบการณ์ (วันพุธ ผู้สอน - น.ส.ทิพย์มณี  สมศรี)
                  กิจกรรมเสริมประสบการณ์ - จากในนิทานหนูหน่อยปวดท้อง เพราะ ไม่กินผัก ควรเล่าว่าหนูหน่อยท้องผูกก่อน เนื่องจากไม่มีกากอาหาร ไม่ใช่ไม่กินผักทำให้ท้องผูก ครูควรถามว่า เด็กๆคิดว่าผักมีประโยชน์อะไรอีกคะ อาจมีอาชีพ คนขายกับข้าว โรงงาน ชาวสวน เป็นต้น การทำถุงมือประกอบการเล่านิทาน ส่วนมากการเล่านิทาน ครูจะนำสื่อมาเสียบไม้แล้วเล่ามากกว่าการใช้ถุงมือ (วันพฤหัสบดี ผู้สอน - น.ส.อินธุอร  ศรีบุญชัย)


My friend teaching title vegetable in experience-enhancement activities.


My friend teaching title vegetable in experience-enhancement activities.

3. หน่วย ยานพาหนะ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ - ในการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ครูควรเปลี่ยนคำพูดจากคำว่า สคริปต์ เป็นก้าวชิดก้าวแทน (วันศุกร์ ผู้สอน - น.ส.ประภัสสร  หนูศิริ)
                  กิจกรรมเสริมประสบการณ์ - สอนซ้ำในเรื่องการจัดประเภทยานพาหนะ ควรเปลี่ยนหัวข้อเป็นการจัดประเภทการใช้พลังงานของยานพาหนะ สอนไม่ตรงตามสาระการเรียนรู้ที่เขียนไว้ในแผนการจัดประสบการณ์ ปริศนาคำทายควรใช้กับวันที่ 2 ครูควรเน้นสอนการใช้พลังงานในยานพาหนะประเภทต่างๆมากกว่าการดูแลรักษายานพาหนะ ถ้าจะเน้นสอนการดูแลรักษายานพาหนะ ครูต้องจัดลำดับขั้นตอนในการสอนให้ถูก วางแผนการสอนให้ดี บอกเนื้อหาการดูแลรักษาให้ละเอียด เช่น การล้างรถ เป็นต้น (วันพุธ ผู้สอน - น.ส.อรุณี  พระนารินทร์)


My friend teaching title vehicles in motor and rhythmic activities.


My friend teaching title vehicles in experience-enhancement activities.

4. หน่วย กล้วย
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ - การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ การแต่งเรื่องบรรยาย ควรมีเนื้อหาให้สอดคล้องกับสาระที่ควรเรียนรู้ สอนไม่ตรงตามแผนการจัดประสบการณ์ที่เขียนไว้ (วันศุกร์ ผู้สอน - น.ส.สุธิดารัตน์  เกิดบุญมี)
                  กิจกรรมเสริมประสบการณ์ - คนที่จะสอนไม่มาเรียนวันนี้ (วันพุธ ผู้สอน - น.ส.ณัฐชญา  ตะคุณนะ)


My friend teaching title banana in motor and rhythmic activities.

5. หน่วย ผีเสื้อ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  กิจกรรมเสริมประสบการณ์ - ไม่มีคำแนะนำ (วันพุธ ผู้สอน - นายวรมิตร  สุภาพ)
                  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ - ครูต้องบอกว่าหนอนผีเสื้อกัดใบไม้ทำให้ใบไม้เสียหาย ไม่ถึงกับทำลายธรรมชาติ แต่อาจทำให้ผักเสียหายและจะทำให้ผักมีราคาลดลงได้ (วันศุกร์ ผู้สอน - น.ส.ดวงกมล  คันตะลี)


My friend teaching title butterfly in experience-enhancement activities.


My friend teaching title butterfly in motor and rhythmic activities.

6. หน่วย ส้ม
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ - สอนไม่ตรงตามแผนการจัดประสบการณ์ที่ได้เขียนไว้ ถ้าครูพูดคำไหนให้เด็กนับจำนวนพยางค์และทำท่าให้สัมพันธ์กับจำนวนพยางค์ที่ครูพูด เช่น ถ้าครูพูดเยลลี่ส้ม ให้เด็กตบมือ 3 ครั้ง ถ้าครูพูดซาลาเปารสส้ม ให้เด็กกระโดด 5 ครั้ง และถ้าครูพูดแยมส้ม ให้เด็กก้าวไปข้างหน้า 2 ก้าว เป็นต้น (วันศุกร์ ผู้สอน - น.ส.บุษราคัม  สะรุโณ)
                  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ - การเคลื่อนไหวผู้นำผู้ตาม การเคลื่อนไหวพื้นฐานมีการให้เด็กกระโดดสลับขา กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหาดี ก่อนให้เด็กเคลื่อนไหวผู้นำผู้ตาม ครูมีการให้เด็กร้องเพลงเป็นการทบทวนก่อน 1 รอบ (วันอังคาร ผู้สอน - น.ส.มธุรินทร์  อ่อนพิมพ์)


My friend teaching title orange in motor and rhythmic activities.


My friend teaching title orange in motor and rhythmic activities.

Application
                 ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้สอนเด็กปฐมวัยทุกหน่วยการเรียนรู้ ในกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะและกิจกรรมเสริมประสบการณ์ และนอกจากนี้ดิฉันจะนำข้อเสนอแนะต่างๆที่ได้รับจากอาจารย์ไปใช้ประโยชน์ในการสอนเด็กปฐมวัยอย่างเต็มที่และนำไปปรับปรุงการสอนของตัวเองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นค่ะ

Technique
                 วันนี้อาจารย์ได้ใช้เทคนิคการสอนโดยการอธิบายและการบรรยาย เนื่องจากวันนี้มีการทดลองสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ จึงต้องใช้เทคนิคนี้ในการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้ให้เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆในการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวกับทุกกลุ่มหลังจากที่สอนเสร็จ เพื่อนำไปปรับปรุงการสอนของตนเองค่ะ

Evaluation

Self
                วันนี้ดิฉันแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์อย่างเต็มที่ ตอนแรกที่เริ่มสอนดิฉันรูสึกเกร็ง กลัวว่าอาจารย์จะขัดขณะที่สอน แต่อาจารย์ให้คำแนะนำต่างๆทีเดียวตอนที่ดิฉันสอนเสร็จ ทำให้ดิฉันสามารถสอนได้เรื่อยๆ โดยไม่รู้สึกเกร็งมาก

Friends
               วันนี้เพื่อนๆแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย บางคนไม่ค่อยตั้งใจไม่สนใจขณะที่เพื่อนออกมาสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อนบางคนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียนต่อหน้าอาจารย์ พออาจารย์พูดตักเตือนก็ยังไม่หยุดเล่น บางคนแอบกินขนมในห้องเรียนและวันนี้มีเพื่อนที่ออกมาสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะร้องไห้ เพราะ รู้สึกกดดันที่สอนไม่ถูกใจอาจารย์สักที ทำให้เพื่อนรู้สึกเครียด

Teacher
              วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจสอนและตั้งใจดูนักศึกษาทุกกลุ่มออกมาทดลองสอนในกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะอย่างเต็มที่ อาจารย์ให้คำแนะนำในการสอนกับนักศึกษาทุกกลุ่มอย่างละเอียด และอาจารย์ยังได้ให้ข้อติ-ชมต่างๆ เพื่อให้นักศึกษานำไปปรับปรุงการสอนของตนเองด้วยค่ะ









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น