วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน
วันที่  18  เมษายน  2559
ครั้งที่  16  เวลาเรียน  14:30 น. - 17:30 น.

Knowledge
                    วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาทดลองสอนในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของวันศุกร์ พร้อมกับให้ข้อเสนอแนะต่างๆแก่นักศึกษาทุกกลุ่มอย่างละเอียดค่ะ


Teacher checking lesson plans.

1. หน่วย ยานพาหนะ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                    สอนคะละทาง ไม่สอดคล้องกัน ความปลอดภัย ข้อควรระวังต้องคาดเข็มขัด ถ้านั่งบนเรือต้องนั่งให้เรียบร้อย ไม่ดื่มสุราขณะขับรถ ขับรภต้องจำกัดความเร็วไม่ให้เกินกำหนด นิทานที่เล่ามันคนละทางกับความปลอดภัยและข้อควรระวัง ครูควรใช้คำถามว่า เด็กๆลองบอกครูซิว่าถ้าเราขับรถข้ามทางรถไฟ เราจะทำอย่างไร ขับรถไปเลยไหม และถ้าเราขับรถข้ามสี่แยก ต้องทำยังไงก่อนที่จะขับรถออกไปคะ ฉากในการเล่านิทานต้องไม่ใช้วิธีการแปะกระดาษลงไปแบนๆเลย ต้องติดให้ดูมีมิติ ครูต้องสอนเด็กว่าถ้าเราจะขับรถได้เราต้องมีใบขับขี่ ต้องรู้กฏจราจร ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย ต้องรู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำและต้องรู้สัญญาณไฟจราจรว่าไฟแดง ไฟเหลือง ไฟเขียว หมายถึงอะไร (วันศุกร์ ผู้สอน - น.ส.ประภัสสร  หนูศิริ)


My friend teaching title vehicles in experience-enhancement activities.

2. หน่วย ส้ม
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                    ในแผ่นชาร์ทต้องแก้ส้มเขียวหวานและเกลือ ต้องเป็นส่วนผสม ส่วนอุปกรณ์ในการทำน้ำส้ม คือ มีด ที่คั้นน้ำส้ม แก้ว ครูควรบอกอัตราส่วนในการใส่ส่วนผสมด้วย เพื่อเป็นการบูรณาการคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ส่วนขั้นตอนการทำน้ำส้มคั้นไม่ควรเขียนเป็นความเรียงมาอย่างเดียว เพราะ เด็กยังอ่านหนังสือไม่ออก ครูควรวาดรูปประกอบ เพื่อให้เด็กเข้าใจได้ง่ายขึ้น ครูควรถามเด็กเพิ่มว่าทั้งส่วนผสมและอุปกรณ์ที่เตรียมมานี้สามารถทำอะไรได้บ้าง เช่น น้ำส้มปั่น อะไรที่มีขั้นตอนที่แน่นอน ครูต้องสาธิตวิธีการทำที่ชัดเจน แล้วแบ่งกลุ่มให้เด็กออกมารับอุปกรณ์ไปทำตามขั้นตอนที่ครูสาธิตไป เมื่อเด็กทำเสร็จให้ออกมาเิาน้ำแข็งที่ครู ถ้าครูให้เด็กทำครบทั้ง 4 กลุ่มแล้ว แต่ละกลุ่มได้น้ำส้มครึ่งแก้ว เสร็จแล้วนำน้ำส้มของแต่ละกลุ่มมาเทรวมกันที่หน้าห้อง ก็จะได้น้ำส้มแก้วใหญ่ แล้วยังได้บูรณาการคณิตศาสตร์เข้าไปอีกด้วย นอกจากนำน้ำส้มมาเทรวมกันได้แล้วก็สามารถนำมาแบ่งกัน เพื่อให้เด็กได้ชิมทุกคน หลังจากสอนเสร็จครูต้องพูดสรุปให้เด็กฟังอีกทีว่าถ้าเราจะทำน้ำส้มเราต้องทำอย่างไรบ้างคะ (วันศุกร์ ผู้สอน - น.ส.บุษราคัม  สะรุโณ)


My friend teaching title orange in experience-enhancement activities.

3. หน่วย กล้วย
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                    ในแผ่นชาร์ทต้องเขียนสัดส่วนที่จะใส่ส่วนผสมลงไปให้ชัดเจน อุปกรณ์ที่ใช้ไม่ต้องเขียนปลั๊กไฟกับไม้จิ้มลงในแผ่นชาร์ท ไม้จิ้มเป็นเพียงแค่อุปกรณ์ที่เราจะใช้ในการตักกิน ในการเขียนแผ่นชาร์ทให้เขียนส่วนผสมไล่ลงมา ไม่ควรเขียนเป็นแถวสองฝั่ง เพราะ มันจะแย่งเนื้อที่กัน ก่อนการทำCookingครูต้องลองทำมาก่อน แล้วค่อยสอนให้เด็กทำจริง ครูอาจแบ่งเด็กให้กลุ่มนึงวาดภาพอุปกรณ์ ส่วนผสมและเขียนสัดส่วน อีกกลุ่มนึงหั่นกล้วย อีกกลุ่มนึงดูวิธีขั้นตอนการทำจากครู ครูต้องพูดถึงทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ต้องกำหนดประเด็นปัญหาก่อน เช่น ทำอย่างไรจะให้กล้วยสุกหรือทำอย่างไรจะทำให้กล้วยเป็นของหวานได้ ครูต้องตั้งประเด็นปัญหาให้เด็กรู้จักคิด ต่อมาต้องตั้งสมมติฐาน เช่น ถ้านำกล้วยไปใส่ในน้ำเชื่อมจะเกิดอะไรขึ้น ต่อมาครูให้เด็กลงมาปฏิบัติ โดยเอากล้วยใส่ลงไปในกระทะ แล้วให้เด็กสังเกต เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างที่ทำครูและเด็กต้องเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อเอาข้อมูลไปวิเคราะห์ เพื่อทดสอบสมมติฐาน แล้วให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกล้วยว่าถ้ากล้วยสุก กล้วยจะมีสีอย่างไร ครูควรให้เด็กแต่ละกลุ่มสลับหน้าที่กัน เพื่อที่ทุกคนจะได้ทำทุกอย่าง ก่อนการทำCookingครูต้องแนะนำอุปกรณ์และข้อควรระวังให้เด็กรู้ด้วย สาระที่ควรเรียนรู้ คือ กล้วยนำไปประกอบอาหารเป็นของหวานได้ โดยมีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นนำ - ครูแนะนำขั้นตอนและส่วนผสมและแนะนำส่วนผสมว่าเอาไปทำอะไรได้บ้าง ขั้นสอน - ให้เด็กหั่นกล้วยนำใส่กระทะ แล้วเชื่อมกล้วย ขั้นสรุป - ครูพูดสรุปและทบทวนวิธีการเชื่อมกล้วย (วันศุกร์ ผู้สอน - น.ส.สุธิดารัตน์  เกิดบุญมี)  


My friend teaching title banana in experience-enhancement activities.

4. หน่วย ผีเสื้อ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                    ในแผ่นชาร์ทแน่นเกินไป ต้องไม่เขียนติดกันจนเกินไป ขั้นตอนการทำไม่ควรเขียนเป็นช่องๆ ขั้นนำ - ครูแนะนำวัสดุ อุปกรณ์และถามเด็กว่าเอาไปทำอะไรได้บ้าง ขั้นสอน - ครูสาธิตขั้นตอนการทำ แบ่งเด็กออกเป็น 4 กลุ่ม  1. วาดรูปส่วนผสมและอุปกรณ์  2. นำขนมปังเข้าเครื่องปิ้ง  3. ทาเนย  4. วาดรูปผีเสื้อลงบนขนมปัง แล้วให้เด็กเปลี่ยนกันทำจนครบทุกกลุ่ม การกำหนดปัญหา เช่น ทำอย่างไรให้ชนมปังสุกหรือทำอย่างไรให้ขนมปังร้อน เมื่อเด็กปิ้งขนมปังแล้วเราต้องตั้งสมมติฐาน ครูควรถามเด็กว่าเด็กๆคิดว่าขนมปังจะเกิดอะไรขึ้นถ้ามันร้อน ต่อมาก็พาเด็กไปทดลอง ครูต้องให้เด็กสังเกตว่าถ้าขนมปังสุกจะมีสีอย่างไรหรือถ้าขนมปังสุกจะมีกลิ่นอย่างไร แล้วให้เด็กรวบรวมข้อมูล โดยการสังเกตจากการทำขนมปังปิ้ง (วันศุกร์ ผู้สอน - น.ส.ดวงกมล  คันตะลี) 


My friend teaching title butterfly in experience-enhancement activities.

Application
                   ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย ในกิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัย และดิฉันจะนำความรู้ ข้อเสนอแนะต่างๆที่ได้รับจากอาจารย์ไปใช้ปรับปรุงการสอนของตนเองในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Technique
                   วันนี้อาจารย์ได้ใช้เทคนิคการสอนโดยการอธิบายและคำบรรยาย เนื่องจากวันนี้มีการทดลองสอนในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ จึงต้องใช้เทคนิคนี้ในการเรียนการสอน อาจารย์ได้ให้เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆในการสอนมากมายอย่างดีค่ะ ทำให้นักศึกษาสามารถนำไปคิด นำไปใช้และปรับปรุงการสอนของตนเองให้ดียิ่งขึ้นไปค่ะ

Evaluation

Self
                  วันนี้ดิฉันไปถึงห้องเรียนพร้อมอาจารย์ค่ะ ช่วยอาจารย์จัดโต๊ะ จัดห้องและเตรียมพื้นที่ที่ใช้ในการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในวันนี้ค่ะ แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ตั้งใจเรียน อารมณ์ดี และตั้งใจฟังคำแนะนำต่างๆจากอาจารย์ กลุ่มของดิฉันเพื่อนที่สอนวันศุกร์ไม่มาเลยไม่ได้สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในวันนี้ค่ะ

Friends 
                 วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่มาเรียนช้า แต่ทุกคนก็ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังคำแนะนำต่างๆที่อาจารย์ให้ และแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อยค่ะ

Teacher
                 วันนี้อาจารย์มาถึงห้องเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียนร้อย ตั้งใจสอน และยังให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะต่างๆมากมายแก่นักศึกษาอย่างดี และยังส่งเสริมให้นักศึกษาได้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสอนเด็กปฐมวัยอีกด้วย 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น