วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน
วันที่  18  เมษายน  2559
ครั้งที่  16  เวลาเรียน  14:30 น. - 17:30 น.

Knowledge
                    วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาทดลองสอนในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของวันศุกร์ พร้อมกับให้ข้อเสนอแนะต่างๆแก่นักศึกษาทุกกลุ่มอย่างละเอียดค่ะ


Teacher checking lesson plans.

1. หน่วย ยานพาหนะ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                    สอนคะละทาง ไม่สอดคล้องกัน ความปลอดภัย ข้อควรระวังต้องคาดเข็มขัด ถ้านั่งบนเรือต้องนั่งให้เรียบร้อย ไม่ดื่มสุราขณะขับรถ ขับรภต้องจำกัดความเร็วไม่ให้เกินกำหนด นิทานที่เล่ามันคนละทางกับความปลอดภัยและข้อควรระวัง ครูควรใช้คำถามว่า เด็กๆลองบอกครูซิว่าถ้าเราขับรถข้ามทางรถไฟ เราจะทำอย่างไร ขับรถไปเลยไหม และถ้าเราขับรถข้ามสี่แยก ต้องทำยังไงก่อนที่จะขับรถออกไปคะ ฉากในการเล่านิทานต้องไม่ใช้วิธีการแปะกระดาษลงไปแบนๆเลย ต้องติดให้ดูมีมิติ ครูต้องสอนเด็กว่าถ้าเราจะขับรถได้เราต้องมีใบขับขี่ ต้องรู้กฏจราจร ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย ต้องรู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำและต้องรู้สัญญาณไฟจราจรว่าไฟแดง ไฟเหลือง ไฟเขียว หมายถึงอะไร (วันศุกร์ ผู้สอน - น.ส.ประภัสสร  หนูศิริ)


My friend teaching title vehicles in experience-enhancement activities.

2. หน่วย ส้ม
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                    ในแผ่นชาร์ทต้องแก้ส้มเขียวหวานและเกลือ ต้องเป็นส่วนผสม ส่วนอุปกรณ์ในการทำน้ำส้ม คือ มีด ที่คั้นน้ำส้ม แก้ว ครูควรบอกอัตราส่วนในการใส่ส่วนผสมด้วย เพื่อเป็นการบูรณาการคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ส่วนขั้นตอนการทำน้ำส้มคั้นไม่ควรเขียนเป็นความเรียงมาอย่างเดียว เพราะ เด็กยังอ่านหนังสือไม่ออก ครูควรวาดรูปประกอบ เพื่อให้เด็กเข้าใจได้ง่ายขึ้น ครูควรถามเด็กเพิ่มว่าทั้งส่วนผสมและอุปกรณ์ที่เตรียมมานี้สามารถทำอะไรได้บ้าง เช่น น้ำส้มปั่น อะไรที่มีขั้นตอนที่แน่นอน ครูต้องสาธิตวิธีการทำที่ชัดเจน แล้วแบ่งกลุ่มให้เด็กออกมารับอุปกรณ์ไปทำตามขั้นตอนที่ครูสาธิตไป เมื่อเด็กทำเสร็จให้ออกมาเิาน้ำแข็งที่ครู ถ้าครูให้เด็กทำครบทั้ง 4 กลุ่มแล้ว แต่ละกลุ่มได้น้ำส้มครึ่งแก้ว เสร็จแล้วนำน้ำส้มของแต่ละกลุ่มมาเทรวมกันที่หน้าห้อง ก็จะได้น้ำส้มแก้วใหญ่ แล้วยังได้บูรณาการคณิตศาสตร์เข้าไปอีกด้วย นอกจากนำน้ำส้มมาเทรวมกันได้แล้วก็สามารถนำมาแบ่งกัน เพื่อให้เด็กได้ชิมทุกคน หลังจากสอนเสร็จครูต้องพูดสรุปให้เด็กฟังอีกทีว่าถ้าเราจะทำน้ำส้มเราต้องทำอย่างไรบ้างคะ (วันศุกร์ ผู้สอน - น.ส.บุษราคัม  สะรุโณ)


My friend teaching title orange in experience-enhancement activities.

3. หน่วย กล้วย
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                    ในแผ่นชาร์ทต้องเขียนสัดส่วนที่จะใส่ส่วนผสมลงไปให้ชัดเจน อุปกรณ์ที่ใช้ไม่ต้องเขียนปลั๊กไฟกับไม้จิ้มลงในแผ่นชาร์ท ไม้จิ้มเป็นเพียงแค่อุปกรณ์ที่เราจะใช้ในการตักกิน ในการเขียนแผ่นชาร์ทให้เขียนส่วนผสมไล่ลงมา ไม่ควรเขียนเป็นแถวสองฝั่ง เพราะ มันจะแย่งเนื้อที่กัน ก่อนการทำCookingครูต้องลองทำมาก่อน แล้วค่อยสอนให้เด็กทำจริง ครูอาจแบ่งเด็กให้กลุ่มนึงวาดภาพอุปกรณ์ ส่วนผสมและเขียนสัดส่วน อีกกลุ่มนึงหั่นกล้วย อีกกลุ่มนึงดูวิธีขั้นตอนการทำจากครู ครูต้องพูดถึงทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ต้องกำหนดประเด็นปัญหาก่อน เช่น ทำอย่างไรจะให้กล้วยสุกหรือทำอย่างไรจะทำให้กล้วยเป็นของหวานได้ ครูต้องตั้งประเด็นปัญหาให้เด็กรู้จักคิด ต่อมาต้องตั้งสมมติฐาน เช่น ถ้านำกล้วยไปใส่ในน้ำเชื่อมจะเกิดอะไรขึ้น ต่อมาครูให้เด็กลงมาปฏิบัติ โดยเอากล้วยใส่ลงไปในกระทะ แล้วให้เด็กสังเกต เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างที่ทำครูและเด็กต้องเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อเอาข้อมูลไปวิเคราะห์ เพื่อทดสอบสมมติฐาน แล้วให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกล้วยว่าถ้ากล้วยสุก กล้วยจะมีสีอย่างไร ครูควรให้เด็กแต่ละกลุ่มสลับหน้าที่กัน เพื่อที่ทุกคนจะได้ทำทุกอย่าง ก่อนการทำCookingครูต้องแนะนำอุปกรณ์และข้อควรระวังให้เด็กรู้ด้วย สาระที่ควรเรียนรู้ คือ กล้วยนำไปประกอบอาหารเป็นของหวานได้ โดยมีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นนำ - ครูแนะนำขั้นตอนและส่วนผสมและแนะนำส่วนผสมว่าเอาไปทำอะไรได้บ้าง ขั้นสอน - ให้เด็กหั่นกล้วยนำใส่กระทะ แล้วเชื่อมกล้วย ขั้นสรุป - ครูพูดสรุปและทบทวนวิธีการเชื่อมกล้วย (วันศุกร์ ผู้สอน - น.ส.สุธิดารัตน์  เกิดบุญมี)  


My friend teaching title banana in experience-enhancement activities.

4. หน่วย ผีเสื้อ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                    ในแผ่นชาร์ทแน่นเกินไป ต้องไม่เขียนติดกันจนเกินไป ขั้นตอนการทำไม่ควรเขียนเป็นช่องๆ ขั้นนำ - ครูแนะนำวัสดุ อุปกรณ์และถามเด็กว่าเอาไปทำอะไรได้บ้าง ขั้นสอน - ครูสาธิตขั้นตอนการทำ แบ่งเด็กออกเป็น 4 กลุ่ม  1. วาดรูปส่วนผสมและอุปกรณ์  2. นำขนมปังเข้าเครื่องปิ้ง  3. ทาเนย  4. วาดรูปผีเสื้อลงบนขนมปัง แล้วให้เด็กเปลี่ยนกันทำจนครบทุกกลุ่ม การกำหนดปัญหา เช่น ทำอย่างไรให้ชนมปังสุกหรือทำอย่างไรให้ขนมปังร้อน เมื่อเด็กปิ้งขนมปังแล้วเราต้องตั้งสมมติฐาน ครูควรถามเด็กว่าเด็กๆคิดว่าขนมปังจะเกิดอะไรขึ้นถ้ามันร้อน ต่อมาก็พาเด็กไปทดลอง ครูต้องให้เด็กสังเกตว่าถ้าขนมปังสุกจะมีสีอย่างไรหรือถ้าขนมปังสุกจะมีกลิ่นอย่างไร แล้วให้เด็กรวบรวมข้อมูล โดยการสังเกตจากการทำขนมปังปิ้ง (วันศุกร์ ผู้สอน - น.ส.ดวงกมล  คันตะลี) 


My friend teaching title butterfly in experience-enhancement activities.

Application
                   ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย ในกิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัย และดิฉันจะนำความรู้ ข้อเสนอแนะต่างๆที่ได้รับจากอาจารย์ไปใช้ปรับปรุงการสอนของตนเองในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Technique
                   วันนี้อาจารย์ได้ใช้เทคนิคการสอนโดยการอธิบายและคำบรรยาย เนื่องจากวันนี้มีการทดลองสอนในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ จึงต้องใช้เทคนิคนี้ในการเรียนการสอน อาจารย์ได้ให้เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆในการสอนมากมายอย่างดีค่ะ ทำให้นักศึกษาสามารถนำไปคิด นำไปใช้และปรับปรุงการสอนของตนเองให้ดียิ่งขึ้นไปค่ะ

Evaluation

Self
                  วันนี้ดิฉันไปถึงห้องเรียนพร้อมอาจารย์ค่ะ ช่วยอาจารย์จัดโต๊ะ จัดห้องและเตรียมพื้นที่ที่ใช้ในการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในวันนี้ค่ะ แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ตั้งใจเรียน อารมณ์ดี และตั้งใจฟังคำแนะนำต่างๆจากอาจารย์ กลุ่มของดิฉันเพื่อนที่สอนวันศุกร์ไม่มาเลยไม่ได้สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในวันนี้ค่ะ

Friends 
                 วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่มาเรียนช้า แต่ทุกคนก็ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังคำแนะนำต่างๆที่อาจารย์ให้ และแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อยค่ะ

Teacher
                 วันนี้อาจารย์มาถึงห้องเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียนร้อย ตั้งใจสอน และยังให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะต่างๆมากมายแก่นักศึกษาอย่างดี และยังส่งเสริมให้นักศึกษาได้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสอนเด็กปฐมวัยอีกด้วย 






วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วันที่  13  เมษายน  2559
ครั้งที่  15  เวลาเรียน  14:30 น. - 17:30 น.

Notice
            Today is a Songkran Day. Therefore today is no teaching.


บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วันที่  4  เมษายน  2559
ครั้งที่  14  เวลาเรียน  14:30 น. - 17:30 น.

Knowledge
                    วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในวันต่างๆที่ยังเหลืออยู่ หลังจากที่นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์เสร็จ อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำต่างๆมากมายอย่างละเอียดค่ะ


Teacher checking lesson plans.

1. หน่วย เห็ด
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารยฺ์ ดังนี้
                   แผ่นชาร์ทนิทานควรตัดภาพใส่กระดาษแข็งหรือกระดาษลัง แล้วค่อยนำมาติดที่แผ่นชาร์ท เพื่อให้ภาพดูนูนขึ้น มีความน่าสนใจขึ้น ในเนื้อเรื่องนิทานควรมีบทสนทนากันด้วย ไม่ใช่ครูออกมาเล่าเรื่องอย่างเดียว ไม้เสียบตัวละครมีความยาวเกินไป พอนำมาวางแล้วกลายเป็นว่าเด็กอยู่บนต้นไม้ สูงกว่าต้นไม้ แผ่นชาร์ทต้องแก้จากหัวข้อคำว่ากราฟแสดงจำนวนเป็นการสำรวจผู้ที่ต้องการประกอบอาหารจากเด็ก ครูต้องย้ำเด็กในการสอนว่า ถ้าเห็นเห็ดที่มีสีสันสวยสะดุดตาว่าเป็นเห็ดพิษ แล้วต้องนำเห็ดมาถามครูก่อน ตัวหนังสือคำว่าเห็ดต้องใช้สีแดง ประโยชน์จากเห็ดต้องเขียนตัวใหญ่ๆหน่อย ข้อพึงระวังก่อนที่จะรับประทานเห็ด ครูต้องบอกเด็กก่อนว่า ระวังอย่ารับประทานเห็ดที่มีพิษ คือ เห็ดที่มีสีสันสวยงามสะดุดตา ถ้าเผลอรับประทานไป ควรรีบไปหาหมอที่โรงพยาบาลทันที (วันพฤหัสบดี ผู้สอน - น.ส.พรวิมล  ปาผล)


My friend teaching title mushroom in experience-enhancement activities.

2. หน่วย ผีเสื้อ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                   ระหว่างที่สอนลืมพูดข้อควรระวัง ตัวหนังสือที่แผ่นชาร์ทไม่เท่ากัน ครูต้องเขียนให้อ่านออก ในข้อควรระวังครูลืมบอกว่าหนอนกัดกินใบไม้เสียหาย ในนิทานครูต้องเรียงคำพูดให้ดี ในเนื้อเรื่องอาจให้มีนกกาคอยกินผีเสื้อเป็นอาหาร ครูเล่านิทานใช้ได้ ครูควรถามเด็กเพิ่มว่านอกจากในนิทานแล้ว ผีเสื้อยังมีประโยชน์อะไรอีก แล้วครูก็จดบันทึกสิ่งที่เด็กพูด ครูควรถามเด็กว่า เด็กๆดูสิคะว่าสมุดเล่มนี้มีรูปอะไรบ้าง ทำไมถึงเป็นรูปผีเสื้อ เพราะ ผีเสื้อสวย หลังจากที่ครูถามสิ่งของที่เป็นรูปผีเสื้อเสร็จแล้ว ครูควรบอกเด็กว่า เห็นไหมคะว่าของหลายๆอย่างมีรูปผีเสื้อ เพราะ ผีเสื้อทำให้สิ่งต่างๆสวยงาม ครูควรบอกให้เด็กพูดว่า นักคีตวิทยา เด็กๆพูดตามครูซิคะ นักคีตวิทยา ซึ่งมีหน้าที่ผสมเพาะพันธุ์ผีเสื้อ ควรมีรูปผีเสื้อที่ครูสอนให้เด็กดูด้วย ประโยชน์ของผีเสื้อสร้างอาชีพต้องมาก่อนสร้างรายได้ ควรมีรูปสร้างอาชีพจากผีเสื้อให้เด็กดูด้วย ครูควรบอกวิธีแก้เมื่อเด็กโดนขนผีเสื้อแล้วแพ้ คัน ผื่นขึ้น จาม ให้เด็กไปล้างทำความสะอาดและไปทายาทันที (วันพฤหัสบดี ผู้สอน - น.ส.ณัฐชยา  ชาญณรงค์)

 

My friend teaching title butterfly in experience-enhancement activities.

3. หน่วย ยานพาหนะ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                   ประโยชน์จากภาพตัดต่อได้อะไรบ้าง คือ การเดินทาง ขายรถและการท่องเที่ยว หัวข้อในแผ่นชาร์ทต้องเป็นการสร้างอาชีพกับการท่องเที่ยว ครูควรถามเด็กว่า ยานพาหนะยังมีประโยชน์อะไรอีก ควรเขียน Mind Map เป็นแนวนอน ประโยชน์ของยานพาหนะมีเยอะ ควรใช้นิทานเป็นเทคนิคในการสอน ครูควรถามเด็กว่า นอกจากอาชีพขายรถมีอะไรบ้าง แต่ครูกลับพูดเน้นไปที่รถหมดเลย ซึ่งสามารถพูดได้หลายอย่าง เช่น เรือ - คนขับเรือ คนขายตั๋ว คนซ่อมเรือ  เครื่องบิน - คนขายตั๋ว คนขนของ แอร์โฮสเตส สจ๊วต ครูควรถามเด็กว่ายานพาหนะในทางบกเด็กๆรู้จักยี่ห้ออะไรบ้าง ครูต้องนำโลโก้ชัดๆมาติดที่แผ่นชาร์ท หัวใจของการสอนวันนี้ คือ ประโยชน์ ถ้าครูจะแยก Mind Map เป็นทางบก น้ำและอากาศแล้วจะทำให้ครูพูดง่ายขึ้นก็ควรแยก ถ้าครูแยกชาร์ทเป็นระบบจะช่วยให้เด็็กจำรายละเอียดต่างๆได้ดี ถ้าครูไม่จัดกลุ่มรายละเอียดใน Mind Map จะเยอะ ในแผนการจัดประสบการณ์ต้องเขียนเน้นเรื่องประโยชน์ของยานพาหนะ เรื่องยี่ห้อของยานพาหนะค่อยตบท้าย (วันพฤหัสบดี ผู้สอน - น.ส.ธนาภรณ์  ใจกล้า)

 

My friend teaching title vehicles in experience-enhancement activities.

4. หน่วย ส้ม
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                   สอนเรื่องส้ม แต่ในแผนการจัดประสบการณ์เขียนชนิดของกล้วย ต้องมีที่ปักเพิ่มสำหรับใช้แยกประเภท แยกส้มโอออกมา ครูควรถามเด็กว่า มีส้มโออีกไหม ครูควรพูดว่า เรามาพิสูจน์กันว่าส้มโอมากกว่าอันที่ไม่ใช่ส้มฌอจริงหรือเปล่า โดยการจับคู่ 1:1 สรุปว่าส้มโอมากกว่าไม่ใช่ส้มโอ แล้วไปเขียนสรุปใน Mind Map ว่าเด็กๆรู้จักส้มชนิดต่างๆ แล้วครูควรให้เด็กท่องคำคล้องจองอีกรอบ (วันจันทร์ ผู้สอน - น.ส.นฤมล  เส้งเซ่ง)

 

My friend teaching title orange in experience-enhancement activities.

Application
                   ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในหน่วยต่างๆให้ถูกต้องตามหลักการที่อาจารย์ได้สอนมา และดิฉันจะนำข้อผิดพลาดต่างๆไปใช้ปรับปรุงการสอนของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นค่ะ

Technique
                   วันนี้อาจารย์ได้ใช้เทคนิคการสอนโดยการอธิบายและการบรรยาย เนื่องจากวันนี้มีการทดลองสอนในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ จึงต้องใช้เทคนิคนี้ในการเรียนการสอน อาจารย์ได้ให้เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆในการสอนมากมายอย่างดีค่ะ ทำให้นักศึกษาสามารถนำไปคิดและปรับปรุงการสอนของตนเองให้ดีขึ้นได้ค่ะ

Evaluation

Self
                  วันนี้ดิฉันแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย มาถึงห้องเรียนก่อนเวลาเรียน ตั้งใจเรียน ช่วยเป็นนักเรียนให้กับเพื่อนทุกกลุ่มในวันนี้ ตั้งใจฟังคำแนะนำจากอาจารย์และคิดตามไปด้วย การเรียนในวันนี้สนุกดีค่ะ คนไม่เยอะ เพื่อนที่สอนในวันนี้ก็รู้สึกไม่ตื่นเต้นมาก

Friends
                 วันนี้มีเพื่อนไม่มาเรียน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผักและกลุ่มกล้วย ทำให้ภายในห้องมีเพื่อนมาเรียนนิดเดียว เพื่อนส่วนใหญ่แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย บางคนใส่ชุดพละ แต่ไม่ใส่ถุงเท้า มีเพื่อนนำสุนัขมาเรียนด้วย ทำให้สุนัขวิ่งไปทั่วห้องขณะที่เพื่อนคนอื่นสอนอยู่และสุนัขก็ปัสสาวะไปทั่วห้อง

Teacher
                วันนี้อาจารย์มาช้านิดหน่อย อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีความตั้งใจในการสอนอย่างมาก คอยตักเตือนและคอยให้คำแนะนำทุกอย่างที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาทุกคนที่สามารถนำไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้ สิ่งที่อาจารย์สอน คือ พื้นฐาน แต่ถ้าเราไปสอนเอง แล้วเด็กเก่งแล้ว เราต้องขยับขยายวิธีการสอนจากจับคู่ 1:1 เป็นจับคู่ทีละ 2 อันก็ได้










วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วันที่  28  มีนาคม  2559
ครั้งที่  13  เวลาเรียน  14:30 น. - 17:30 น.

Knowledge
                    วันนี้อาจารย์ได้ตรวจดูแผนการสอนของทุกกลุ่ม แล้วอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ โดยหลังจากที่แต่ละกลุ่มสอนในแต่ละกิจกรรมเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำต่างๆเกี่ยวกับการสอนในแต่ละกิจกรรมของทุกกลุ่ม


Teacher commenting all group.

1. หน่วย เห็ด
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  กิจกรรมเสริมประสบการณ์ - ในแผนการจัดประสบการณ์สาระที่ควรเรียนรู้ ควรเขียนอธิบายขั้นตอนการเพาะเห็ดนางฟ้าแบบสรุปสั้นๆลงไปด้วย ในการผสมส่วนผสมการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า ครูควรใส่ถุงมือหรือใช้ช้อนตัก ไม่ใช้มือเปล่า อาจจะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ แต่ครูไม่ควรมองข้าม ครูอาจให้เด็กมีส่วนร่วมได้ โดยการให้เด็กออกมาช่วยครูตักส่วนผสมใส่ลงในถุงก้อนเชื้อก็ได้ ในแผ่นชาร์ทขั้นตอนการเพาะเห็ดนางฟ้า ครูควรวาดรูปประกอบในแต่ละขั้นตอนด้วย โดยรวมสอนได้ดี (วันพุธ ผู้สอน - น.ส.ภัสสร  ศรีพวาทกุล)
                 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ - ในการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ครูไม่ควรให้เด็กเคลื่อนไหวหลายอย่าง ถ้าครูให้เด็กกระโดดแล้ว ไม่ต้องให้เด็กเดินด้วยปลายเท้าอีก ในการจัดกลุ่มการเคลื่อนไหวประกอบเพลง ครูควรใช้วิธีการจัดกลุ่มหลายๆวิธี นอกจากการให้เด็กนับเลข 1-3 เช่น การใช้สัญลักษณ์ การแจกภาพเรขาคณิตให้เด็กหรือครูอาจพูดว่า นก 2 ตัว รวมกันได้กี่ขา เป็นต้น โดยรวมสอนได้ดี (วันศุกร์ ผู้สอน - น.ส.สุนิสา  บุดดารวม)


I teaching title mushroom in experience-enhancement activities.


My friend teaching title mushroom in motor and rhythmic activities.

2. หน่วย ผัก
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  กิจกรรมเสริมประสบการณ์ - ควรใส่หัวข้อพืชกินดอกลงไปในการสอนด้วย การนำเสนอควรมีประเภทของผักให้ครบทุกประเภทตามที่เขียนไว้ในแผนการจัดประสบการณ์ (วันพุธ ผู้สอน - น.ส.ทิพย์มณี  สมศรี)
                  กิจกรรมเสริมประสบการณ์ - จากในนิทานหนูหน่อยปวดท้อง เพราะ ไม่กินผัก ควรเล่าว่าหนูหน่อยท้องผูกก่อน เนื่องจากไม่มีกากอาหาร ไม่ใช่ไม่กินผักทำให้ท้องผูก ครูควรถามว่า เด็กๆคิดว่าผักมีประโยชน์อะไรอีกคะ อาจมีอาชีพ คนขายกับข้าว โรงงาน ชาวสวน เป็นต้น การทำถุงมือประกอบการเล่านิทาน ส่วนมากการเล่านิทาน ครูจะนำสื่อมาเสียบไม้แล้วเล่ามากกว่าการใช้ถุงมือ (วันพฤหัสบดี ผู้สอน - น.ส.อินธุอร  ศรีบุญชัย)


My friend teaching title vegetable in experience-enhancement activities.


My friend teaching title vegetable in experience-enhancement activities.

3. หน่วย ยานพาหนะ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ - ในการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ครูควรเปลี่ยนคำพูดจากคำว่า สคริปต์ เป็นก้าวชิดก้าวแทน (วันศุกร์ ผู้สอน - น.ส.ประภัสสร  หนูศิริ)
                  กิจกรรมเสริมประสบการณ์ - สอนซ้ำในเรื่องการจัดประเภทยานพาหนะ ควรเปลี่ยนหัวข้อเป็นการจัดประเภทการใช้พลังงานของยานพาหนะ สอนไม่ตรงตามสาระการเรียนรู้ที่เขียนไว้ในแผนการจัดประสบการณ์ ปริศนาคำทายควรใช้กับวันที่ 2 ครูควรเน้นสอนการใช้พลังงานในยานพาหนะประเภทต่างๆมากกว่าการดูแลรักษายานพาหนะ ถ้าจะเน้นสอนการดูแลรักษายานพาหนะ ครูต้องจัดลำดับขั้นตอนในการสอนให้ถูก วางแผนการสอนให้ดี บอกเนื้อหาการดูแลรักษาให้ละเอียด เช่น การล้างรถ เป็นต้น (วันพุธ ผู้สอน - น.ส.อรุณี  พระนารินทร์)


My friend teaching title vehicles in motor and rhythmic activities.


My friend teaching title vehicles in experience-enhancement activities.

4. หน่วย กล้วย
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ - การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ การแต่งเรื่องบรรยาย ควรมีเนื้อหาให้สอดคล้องกับสาระที่ควรเรียนรู้ สอนไม่ตรงตามแผนการจัดประสบการณ์ที่เขียนไว้ (วันศุกร์ ผู้สอน - น.ส.สุธิดารัตน์  เกิดบุญมี)
                  กิจกรรมเสริมประสบการณ์ - คนที่จะสอนไม่มาเรียนวันนี้ (วันพุธ ผู้สอน - น.ส.ณัฐชญา  ตะคุณนะ)


My friend teaching title banana in motor and rhythmic activities.

5. หน่วย ผีเสื้อ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  กิจกรรมเสริมประสบการณ์ - ไม่มีคำแนะนำ (วันพุธ ผู้สอน - นายวรมิตร  สุภาพ)
                  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ - ครูต้องบอกว่าหนอนผีเสื้อกัดใบไม้ทำให้ใบไม้เสียหาย ไม่ถึงกับทำลายธรรมชาติ แต่อาจทำให้ผักเสียหายและจะทำให้ผักมีราคาลดลงได้ (วันศุกร์ ผู้สอน - น.ส.ดวงกมล  คันตะลี)


My friend teaching title butterfly in experience-enhancement activities.


My friend teaching title butterfly in motor and rhythmic activities.

6. หน่วย ส้ม
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ - สอนไม่ตรงตามแผนการจัดประสบการณ์ที่ได้เขียนไว้ ถ้าครูพูดคำไหนให้เด็กนับจำนวนพยางค์และทำท่าให้สัมพันธ์กับจำนวนพยางค์ที่ครูพูด เช่น ถ้าครูพูดเยลลี่ส้ม ให้เด็กตบมือ 3 ครั้ง ถ้าครูพูดซาลาเปารสส้ม ให้เด็กกระโดด 5 ครั้ง และถ้าครูพูดแยมส้ม ให้เด็กก้าวไปข้างหน้า 2 ก้าว เป็นต้น (วันศุกร์ ผู้สอน - น.ส.บุษราคัม  สะรุโณ)
                  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ - การเคลื่อนไหวผู้นำผู้ตาม การเคลื่อนไหวพื้นฐานมีการให้เด็กกระโดดสลับขา กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหาดี ก่อนให้เด็กเคลื่อนไหวผู้นำผู้ตาม ครูมีการให้เด็กร้องเพลงเป็นการทบทวนก่อน 1 รอบ (วันอังคาร ผู้สอน - น.ส.มธุรินทร์  อ่อนพิมพ์)


My friend teaching title orange in motor and rhythmic activities.


My friend teaching title orange in motor and rhythmic activities.

Application
                 ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้สอนเด็กปฐมวัยทุกหน่วยการเรียนรู้ ในกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะและกิจกรรมเสริมประสบการณ์ และนอกจากนี้ดิฉันจะนำข้อเสนอแนะต่างๆที่ได้รับจากอาจารย์ไปใช้ประโยชน์ในการสอนเด็กปฐมวัยอย่างเต็มที่และนำไปปรับปรุงการสอนของตัวเองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นค่ะ

Technique
                 วันนี้อาจารย์ได้ใช้เทคนิคการสอนโดยการอธิบายและการบรรยาย เนื่องจากวันนี้มีการทดลองสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ จึงต้องใช้เทคนิคนี้ในการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้ให้เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆในการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวกับทุกกลุ่มหลังจากที่สอนเสร็จ เพื่อนำไปปรับปรุงการสอนของตนเองค่ะ

Evaluation

Self
                วันนี้ดิฉันแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์อย่างเต็มที่ ตอนแรกที่เริ่มสอนดิฉันรูสึกเกร็ง กลัวว่าอาจารย์จะขัดขณะที่สอน แต่อาจารย์ให้คำแนะนำต่างๆทีเดียวตอนที่ดิฉันสอนเสร็จ ทำให้ดิฉันสามารถสอนได้เรื่อยๆ โดยไม่รู้สึกเกร็งมาก

Friends
               วันนี้เพื่อนๆแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย บางคนไม่ค่อยตั้งใจไม่สนใจขณะที่เพื่อนออกมาสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อนบางคนเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียนต่อหน้าอาจารย์ พออาจารย์พูดตักเตือนก็ยังไม่หยุดเล่น บางคนแอบกินขนมในห้องเรียนและวันนี้มีเพื่อนที่ออกมาสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะร้องไห้ เพราะ รู้สึกกดดันที่สอนไม่ถูกใจอาจารย์สักที ทำให้เพื่อนรู้สึกเครียด

Teacher
              วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจสอนและตั้งใจดูนักศึกษาทุกกลุ่มออกมาทดลองสอนในกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะอย่างเต็มที่ อาจารย์ให้คำแนะนำในการสอนกับนักศึกษาทุกกลุ่มอย่างละเอียด และอาจารย์ยังได้ให้ข้อติ-ชมต่างๆ เพื่อให้นักศึกษานำไปปรับปรุงการสอนของตนเองด้วยค่ะ