วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วันที่  22  มีนาคม  2559
ครั้งที่  12  เวลาเรียน  14:30 น. - 17:30 น.

Knowledge
                    วันนี้อาจารย์ได้ตรวจดูแผนการสอนของแต่ละกลุ่ม แล้วให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะของวันพุธและวันพฤหัสบดี โดยแต่ละกลุ่มหลังจากที่ได้สอนแล้วได้รับคำแนะนำต่างๆจากอาจารย์ ดังนี้


Teacher checking lesson plans.

1. หน่วย เห็ด
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  ในกิจกรรมพื้นฐานในการกระโดดสามารถให้เด็กเปลี่ยนระดับได้ ในการเดินครูอาจให้เด็กเดินด้วยส้นเท้าหรือปลายเท้าก็ได้ กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา เช่น เมื่อครูพูดเห็ดนางฟ้าครูอาจเคาะจังหวะต่อไปเรื่อยๆโดยไม่ต้องหยุดก็ได้ แล้วครูค่อยเปลี่ยนคำสั่ง ในการเขียนวัตถุประสงค์ ไม่ต้องเขียนคำว่า เพื่อให้เด็ก ให้เขียนคำว่า เด็ก........ โดยรวมแล้วสอนได้ดี (วันพุธ ผู้สอน - น.ส.ภัสสร  ศรีพวาทกุล)
                 สาระที่ควรรู้ คือ ต้องเป็นประโยชน์ของเห็ด เห็ดสามารถนำมาประกอบอาหารได้ ตามความจริงถ้าเป็นเด็กก็จะมีคนที่กระโดดขาเดียวและสองขาสลับกันไป เด็กบางคนก็จะกระโดดไปมา (วันพฤหัสบดี ผู้สอน - น.ส.พรวิมล  ปาผล)


I teaching title mushroom in motor and rhythmic activities.

2. หน่วย ผัก
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  การเคลื่อนไหวตามคำบรรยายผักที่กินหัว คือ แครอท ทำให้ผิวเนียน มีเนื้อแน่น ผักที่กินผล คือ ฟักทอง มีเนื้อแน่น ผิวต้องไม่ย่น ครูอาจให้เด็กใช้นิ้วดีด เพื่อทดสอบว่าฟักทองเนื้อแน่นจริงไหม (วันพุธ ผู้สอน - น.ส.ทิพย์มณี  สมศรี)
                  เวลาครูบรรยายให้เด็กเก็บผัก ครูต้องให้เด็กพูดนับจำนวนขณะเก็บผักไปด้วย เวลาเก็บมะเขือเทศ ผักบุ้ง ครูต้องให้เด็กนั่งลงเก็บผัก เด็กจะได้ไม่หน้ามืด ไม่ปวดหลังและจะได้ไม่ต้องก้มโค้งหลังลงไปเก็บผัก (วันหฤหัสบดี ผู้สอน - น.ส.อินธุอร  ศรีบุญชัย)


My friend teaching title vegetable in motor and rhythmic activities.

3. หน่วย ยานพาหนะ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  ในการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนไหวพื้นฐาน คือ ซ้าย ขวา ด้านหลัง ครูอาจให้เด็กเดินด้วยส้นเท้าในการเคลื่อนไหวพื้นฐานด้วยได้ แล้วค่อยบอกให้เด็กเปลี่ยนทิศทาง ครูต้องให้เด็กรู้จักระวังไม่ให้ชนกันในการเปลี่ยนทิศทางโดยเดินด้วยส้นเท้าและถอยหลัง สาระที่ควรเรียนรู้ คือ พลังงานในยานพาหนะชนิดต่างๆ เช่น รถยนต์ใช้น้ำมัน เป็นต้น (วันพุธ ผู้สอน - น.ส.อรุณี  พระนารินทร์)
                  การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย ในการเคลื่อนไหวพื้นฐานควรให้มีหลากหลาย เช่น เปลี่ยนจากการเดิน กระโดด เป็นการควบม้า สคริปต์ ตอนบรรยายครูไม่ต้องเคาะจังหวะ  จะเคาะเป็นช่วงๆเท่านั้น ในการบรรยายสอนล้างรถ ขั้นตอนในการล้างรถจะเป็นการสอนเด็กว่าไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ครูต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะสอนให้กับเด็กก่อน จึงจะทำให้เด็กได้รับการสอนอย่างถูกวิธี การที่จะสอนเด็ก ครูต้องอย่าสอนตามความคิดของตัวเอง ก่อนการสอนครูต้องค้นหาข้อมูลที่ถูกต้องก่อนนำมาสอนเด็กจริงๆ (วันพฤหัสบดี ผู้สอน - น.ส.ธนาภรณ์  ใจกล้า)


My friend teaching title vehicles in motor and rhythmic activities.

4. หน่วย ผีเสื้อ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  ครูควรเคาะจังหวะพื้นฐาน 2 ครั้ง แล้วค่อยเปลี่ยนคำสั่ง เช่น เด็กๆแปลงกายเป็นไข่ เป็นหนอน ให้เด็กๆเป็นผีเสื้อ ขณะที่เด็กแปลงกายครูต้องให้เวลาเด็กได้ทำท่าก่อนแล้วค่อยเคาะจังหวะพื้นฐาน (วันพุธ ผู้สอน - นายวรมิตร  สุภาพ)
                  สาระที่ควรรู้ คือ ผีเสื้อผสมเกสรเป็นดอกไม้และการเปลี่ยนแปลงของผีเสื้อ (วันพฤหัสบดี ผู้สอน - น.ส.ญัฐชยา  ชาญณรงค์)


My friend teaching butterfly in motor and rhythmic activities.

5. หน่วย ส้ม
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  ในการที่ครูให้เด็กหาบริเวณและพื้นที่ให้กับตัวเอง ครูไม่ต้องเคาะจังหวะ ครูควรบอกเด็กไปเลยว่าจะให้เด็กทำอะไร ไม่ต้องพูดว่าให้เด็กเคลื่อนไหวตามจังหวะที่ครูเคาะ เช่น เดินตามจังหวะที่ครูเคาะนะคะ ครูสามารถสั่งให้เด็กเปลี่ยนทิศทางได้หลายครั้ง ครูมีการบรรยายข้ามขั้นตอนไป เด็กยังไม่ได้ลงจากรถไฟ แต่ไปเก็บผลส้มแล้ว ระหว่างที่ครูบรรยายเก็บส้มสูงๆ ต่ำๆ ไม่ต้องเคาะจังหวะ ไม่ต้องถามเด็กว่าส้มมีประโยชน์อะไรบ้าง เพราะ กิจกรรมนี้ไม่ได้อยู่ในช่วงของการบรรยาย ควรเปลี่ยนเป็นให้เด็กช่วยกันเก็บส้มไปทำน้ำส้มคั้นขาย เพราะ น้ำส้มมีประโยชน์ มีวิตามินซี ไม่เป็นหวัดง่าย ท้องไม่ผูก ทำให้เลือดไม่ออกตามไรฟัน ควรสอนตามคำบรรยายที่ได้เขียนไว้ ควรเปลี่ยนคำพูดจากส้มอยู่ต่ำๆ เป็นส้มที่อยู่ต่ำๆ (วันพุธ ผู้สอน - น.ส.มธุรินทร์  อ่อนพิมพ์)
                 เคลื่อนไหวตามคำสั่ง ครูต้องสั่งทีละอย่าง เช่น ส้มจีนให้กระโดด ครูให้เด็กทบทวนส้มจีน แล้วให้เด็กกระโดด แล้ววนกลับไปที่กิจกรรมพื้นฐาน แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นส้มเขียวหวานให้เด็กทำท่าบิน แล้ววนกลับไปที่กิจกรรมพื้นฐานอีก ทำสลับกันไปจนครบทั้ง 3 ส้ม ครูควรให้เด็กทำสิ่งที่เคลื่อนไหวได้ เช่น เดิน วิ่ง ไม่เอานั่ง เพราะ เคลื่อนไหวไม่ได้ กิจกรรมพื้นฐานต้องพูดตามที่เขียนในแผนการจัดประสบการณ์ เวลาเคาะจังหวะ ให้เคาะแต่พอดี ไม่ต้องเคาะแรง (วันพฤหัสบดี ผู้สอน - น.ส.สกาวเดือน  สอิ้งทอง)


My friend teaching title orange in motor and rhythmic activities.

6. หน่วย กล้วย
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  ควรเปลี่ยนคำพูดครูเป็นเดี๋ยวครูเคาะจังหวะ แล้วให้เด็กหมุนอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย เด็กก็อาจจะหมุนคอ ไหล่ ฯลฯ กลุ่มนี้ต้องเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ไม่ควรทำคำบรรยายติดกันทั้ง 2 วัน เพราะ จะทำให้เด็กเบื่อ อาจให้เด็กแปลงเป็นแม่ค้าขายกล้วยทอด ชาวสวนปลูกกล้วย คนขับรถบรรทุกกล้วย แม่ค้าขายกล้วยแขก ฯลฯ ครูต้องพูดโยงเข้าเรื่องประโยชน์ของกล้วยให้ได้ เช่น ทำให้ท้องไม่ผูก นำไปเป็นของหวานของกินได้ นำไปแปรรูปได้ ให้เด็กทำในสิ่งที่ครูสั่ง ให้เด็กทำตาม ไม่มีการบรรยาย เวลาครูใช้คำสั่ง ครูต้องพูดให้เด็กฟังก่อน แล้วค่อยให้เด็กทำตามในสิ่งที่ครูบอก พอครูจะเริ่มสั่งคำสั่งใหม่ ครูจะต้องเคาะให้จังหวะกับเด็ก ให้เด็กฝึกการฟังคำสั่ง หยุดนิ่งแล้วฟังคำสั่ง ครูต้องฝึกเด็ก เมื่อต้องฟังคำสั่งจากครู ให้เด็กตั้งใจฟัง เพื่อที่จะทำได้ถูกต้อง ต้องการให้เด็กรู้จักสเต็ปของการฟัง ครูต้องใส่ใจในเนื้อหาที่สอน วิธีการเลือกซื้อและประโยชน์ต้องให้ความรู้ที่ถูกต้องและดีที่สุดสำหรับเด็ก ครูต้องหาข้อมูลที่มีอ้างอิง เช่น หนังสือ อินเตอร์เน็ต หาข้อมูลมาแล้วสรุปย่อสั้นๆให้เด็กเข้าใจได้ง่าย (วันพุธ ผู้สอน - น.ส.กัญญารัตน์  หนองหงอก) 
                 ครูต้องหาวิธีการเลือกซื้อกล้วยจากอินเตอร์เน็ตมาเพิ่มเติม การบรรยายไม่เจาะลึกลงไปที่วิธีการเลือกซื้อกล้วย สาระที่ควรเรียนรู้ คือ การเลือกซื้อกล้วยควรมีลักษณะอย่างไร ควรเขียนอธิบายลงไป (วันพฤหัสบดี ผู้สอน - น.ส.ณัฐชญา  ตะคุณนะ)


My friend teaching title banana in motor and rhythmic activities.

Application
                 ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อที่ดิฉันจะได้นำความรู้ไปใช้สอนเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกวิธี และดิฉันจะนำข้อเสนอแนะต่างๆจากอาจารย์ไปใช้ปรับปรุงการสอนของตัวเองให้ดียิ่งขึ้นไปค่ะ

Technique
                 วันนี้อาจารย์ได้ใช้เทคนิคการสอนโดยการอธิบายและการบรรยาย เนื่องจากวันนี้มีการทดลองสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ จึงต้องใช้เทคนิคนี้ในการเรียนการสอน อาจารย์ได้ให้เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ในการสอนมากมายเกี่ยวกับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะอย่างดีค่ะ

Evaluation

Self
                วันนี้ดิฉันมาถึงห้องเรียนก่อนเวลาเรียน เพื่อที่จะมาซ้อมก่อนการสอนจริงในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อไม่ให้ตื่นเต้ามากนักเวลาสอนจริงและเพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดในการสอนจริง และวันนี้ดิฉันรู้สึกเกร็งและตื่นเต้นเล็กน้อยค่ะ กลัวจะโดนอาจารย์ติเยอะค่ะ แต่ในที่สุดก็ผ่านไปด้วยดี

Friends
               วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย บางคนแต่งตัวผิดระเบียบด้วยเสื้อยืดสีดำ มีเพื่อนบางคนแอบคุยโทรศัพท์ในห้องเรียนขณะที่เพื่อนกำลังสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะอยู่

Teacher
               วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาช้านิดหน่อย อาจารย์มีความกระตือรือร้นและตั้งใจในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมากค่ะ และนอกจากนี้อาจารย์ยังได้ให้คำแนะนำ ข้อติ-ชมและข้อเสนอแนะต่างๆได้เป็นประโยชน์และดีมากค่ะ 




วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วันที่  21  มีนาคม  2559
ครั้งที่  11  เวลาเรียน  14:30 น. - 17:30 น.

Knowledge
                    วันนี้อาจารย์ได้ตรวจดูแผนการสอนของทุกกลุ่ม แล้วให้ทุกกลุ่มออกมาสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ (วันอังคาร) และสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ (วันจันทร์) พร้อมกับให้คำแนะนำต่างๆในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์และในการสอน ดังนี้


Teacher checking lesson plans.

1. หน่วย ส้ม
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                   การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ควรใช้ปากกาเขียน ไม่ควรใช้ดินสอ เขียนแผนการจัดประสบการณ์มาแบบไม่มีที่มาที่ไป ไม่มีใบหน่วย (Web ใยแมงมุม) ในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ สอนไม่ตรงตามแผน กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะต้องใช้กิจกรรมพื้นฐานก่อน เพื่อนที่สอนตื่นเต้นในการสอนเลยทำให้เกร็ง พูดถูกพูดผิดบ้าง ต้องปรับปรุงเรื่องการเคาะจังหวะ การสั่งต้องชัดเจน ในเล่มแผนการจัดประสบการณ์ต้องส่งแผนการจัดประสบการณ์อันเก่าคู่กับแผนการจัดประสบการณ์อันใหม่ เพื่อที่อาจารย์จะได้รู้ว่าแผนการจัดประสบการณ์อันใหม่ได้แก้ไขปรับปรุงแล้ว ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ วิธีการเรียนรู้ของเด็กที่เด็กจะเรียนรู้ได้ดี คือ การสังเกต การสัมผัส กลุ่มนี้สอนบรรยายลักษณะของส้มเป็นส่วนใหญ่ ให้ดูการสอนจากเพื่อนกลุ่มอื่นก่อน แล้วคอยจดบันทึกไว้อย่างละเอียด


My friends listening comment from teacher.


My friend teaching title orange in experience-enhancement activities.

2. หน่วย ผีเสื้อ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                   กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมนี้จุดเน้นอยู่ที่การเคลื่อนไหวอยู่ที่กาย ไม่ต้องมีแผ่นชาร์ท เพลงที่ใช้ในกิจกรรมนี้ ควรเป็นเพลงที่เด็กร้องได้แล้ว ครูต้องร้องเพลงพร้อมเด็กก่อน แล้วกำกับจังหวะ โดยให้เด็กได้จับกลุ่มผลัดกันร้องเพลง ผลัดกันเต้นและผลัดกับปรบมือ ไม่ว่าจะเรียงลำดับอะไรก็ตามต้องวนจากซ้ายไปขวา ครูควรหาเครื่องเคาะจังหวะให้เด็กได้ผลัดกันเคาะจังหวะ เด็กจะได้ไม่สับสนหน้าที่ของตัวเอง ในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อไม่ควรใช้เวลามาก แต่เน้นให้เด็กได้ทำทุกวัน ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ครูสามารถนำรูปมาติดที่แผ่นชาร์ทได้ ครูควรใช้ปากกาสีอื่น เพื่อให้เด็กเห็นความแตกต่างคำว่าผีเสื้อ ครูไม่ควรนำชนิดผีเสื้อมาเยอะ เพราะ เด็กไม่สามารถจำชนิดผีเสื้อได้หมด ควรนำมาแค่ 3 ชนิดพอ การติดรูปแยกประเภทผีเสื้อต้องติดจากทางซ้ายมือของเด็กไปทางขวามือของเด็ก ครูต้องถามว่าผีเสื้อกลุ่มไหนมีมากกว่ากัน แล้วให้เด็กออกมาจับคู่ 1:1 


My friend teaching title butterfly in motor and rhythmic activities.


My friend teaching title butterfly in experience-enhancement activities.

3. หน่วย ผัก
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                   กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะไม่ต้องใช้ชาร์ทเพลง เคาะจังหวะเคาะได้ชัดเจน ครูควรให้เด็กได้เดินด้วยปลายเท้า ส้นเท้า เพื่อให้เด็กได้ปรับเปลี่ยน หลังจากที่ครูทบทวนร้องเพลงแล้ว ครูควรเรียกเด็กออกมา 1 คน ทำท่านำเพื่อน เพื่อให้ได้ท่าทางใหม่ที่แตกต่าง ผลัดกันสัก 4-5 คน ไม่ต้องครบทุกคน ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ การเขียนประเภทของผักต้องเขียนกินใบ กินดอก กินหัว ฯลฯ ต้องทำตารางและเขียนให้ชัดเจน พอครูถามเด็กว่าผักอะไรบ้างกินใบ ครูก็เขียนสิ่งที่เด็กพูดลงไปในชาร์ท ถ้าเป็นไปได้ควรเอาของจริงมา


My friend teaching title vegetable in motor and rhythmic activities.


My friend teaching title vegetable in experience-enhancement activities.

4. หน่วย ยานพาหนะ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ต้องเคาะจังหวะให้ชัดเจน เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย ครูต้องเคาะจังหวะหยุดให้เด็กด้วย เช่น เด็กๆจอดรถจักรยานลงไปที่หาดทราย ขณะที่ครูพูด ครูต้องเคาะจังหวะหยุดให้เด็กทันที ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูต้องใช้เกณฑ์ให้ชัดเจนในการบอกประเภทของยานพาหนะ ควรใช้การเปรียบเทียบ 3 ชนิด กับเด็กชั้นอนุบาล 3 หรืออนุบาล 2 ตอนปลาย ครูสามารถใช้ได้ แต่ต้องรู้จักวิธีการพูดให้ถูก เพราะ วิธีการพูดอาจจะยากนิดหน่อย


My friend teaching title vehicles in motor and rhythmic activities.


My friend teaching title vehicles in experience-enhancement activities.

5. หน่วย กล้วย
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ครูควรเคาะจังหวะหยุดทันที เมื่อต้องการให้เด็กหยุดการเคลื่อนไหว ไม่ควรเว้นระยะในการเคาะจังหวะหยุด ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ แผ่นชาร์ทเพลงภาพกล้วยไม่ควรใช้สีสะท้อนแสง การนับจำนวนกล้วยไม่ควรนำภาพกล้วยมาเป็นหวี เพราะ จะทำให้ไม่สามารถนับได้


My friend teaching title banana in motor and rhythmic activities.


My friend teaching title banana in experience-enhancement activities.

6. หน่วย เห็ด (กลุ่มของดิฉัน)
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ มีการให้เด็กเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนไหวกิจกรรมพื้นฐาน ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูต้องหาแผงไข่มาวางเห็ดไม่ให้ซ้อนกัน แผ่นชาร์ทต้องหาฟิวเจอร์บอร์ดรองด้านหลังให้หนา หารติดรูปเห็ดในการแยกประเภทของเห็ดต้องติดจากทางซ้ายมือของเด็กไปทางขวามือของเด็ก


My friend teaching title mushroom in motor and rhythmic activities.


My friend teaching title mushroom in experience-enhancement activities.

Application
              ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ ไปใช้ในการเป็นครูปฐมวัยในอนาคต นำไปใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ การสอนกิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรม เพื่อที่จะได้นำหลักการสอนไปใช้ได้ถูกวิธีและเกิดประโยชน์กับเด็กปฐมวัยอย่างสูงที่สุด

Technique
              วันนี้อาจารย์ได้ใช้เทคนิคการสอนโดยการอธิบายและการบรรยาย เนื่องจากวันนี้มีการทดลองสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะและกิจกรรมเสริมประสบการณ์ จึงต้องใช้เทคนิคนี้ในการเรียนการสอน อาจารย์ได้ให้เทคนิคและข้อแนะนำต่างๆในการสอนมากมายเกี่ยวกับการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะและกิจกรรมเสริมประสบการณ์อย่างดีค่ะ

Evaluation

Self
             วันนี้ดิฉันมาช้า 10 นาที เพราะ ไปเอาสื่อการสอนที่หอเพื่อนมา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ตั้งใจดูเพื่อนสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะและกิจกรรมเสริมประสบการณ์อย่างดี และช่วยไปเป็นนักเรียนให้กับเพื่อนกลุ่มอื่นด้วยค่ะ

Friends
            วันนี้มีเพื่อนบางเล่นโทรศัพท์มือถือขณะที่เพื่อนกลุ่มอื่นกำลังสอน เพื่อนบางกลุ่มขออนุญาตอาจารย์ไปเข้าห้องน้ำ แต่กลับไปเดินตลาดนัดที่หน้าม. แล้วซื้อของกินเข้ามาแอบกินในห้องเรียน เพื่อนหลายกลุ่มพูดจาซ้ำเติมเพื่อนที่ได้รับคำติชมจากอาจารย์ เพื่อนบางกลุ่มก็หาว่ากลุ่มของดิฉันไม่ได้เตรียมตัวมาสอน ซึ่งจริงๆแล้วกลุ่มของดิฉันเตรียมตัวมาสอนทุกครั้ง

Teacher
           วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์ดูท่าทางอารมณ์ดีในการสอนตอนแรก ในช่วงหลังๆอาจารย์ดูหงุดหงิดและอารมณ์เสียกับการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะและกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของนักศึกษา บางครั้งอาจารย์ใช้น้ำเสียงที่ดัง ทำให้น่ากลัว อาจารย์ดูจริงจังในการสอนมาก วันนี้อาจารย์ปล่อยช้า 1 ชม. ทำให้ทุกคนรู้สึกเหนื่อย เพลีย กับการเรียนในวันนี้พอสมควรค่ะ














บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วันที่  14  มีนาคม  2559
ครั้งที่  10  เวลาเรียน  14:30 น. - 17:30 น.

Notice
            This week everyone gone move things about educational for myself. Therefore today is no teaching.


Teachers checking around the classroom.


In the classroom.

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน
วันที่  7  มีนาคม  2559
ครั้งที่  9  เวลาเรียน  14:30 น. - 17:30 น.

Notice
            This week everyone helped move things about educational of teacher. Therefore today is no teaching.


Teacher choose necessaries to use.


Everyone intend to help teacher move things.

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน
วันที่  29  กุมภาพันธ์  2559
ครั้งที่  8  เวลาเรียน  14:30 น. - 17:30 น.

Knowledge
                    วันนี้อาจารย์ได้ให้การบ้านนักศึกษา โดยให้นักศึกษาไปซื้อสมุดมีเส้น เพื่อใช้สำหรับคัดก - ฮ ทุกคนต้องคัดไทยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง แล้วนำมาส่งอาจารย์ในครั้งหน้า ต่อมาอาจารย์ได้ให้กลุ่มที่ยังไม่ได้สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเมื่อคราวที่แล้วออกมาสอน ซึ่งกลุ่มกล้วยไม่ได้เตรียมแผนการสอนมา กลุ่มส้มไม่มาเรียนทั้งกลุ่ม อาจารย์เลยให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. หน่วย ยานพาหนะ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                   มีสื่อการสอน คือ แผ่นชาร์ทเพลงแผ่นเดียว ไม่ได้นำรูปภาพมาใช้ในการประกอบการสอน เนื้อหาเพลงมีความเหมาะสม เพราะ ในเนื้อเพลงมีชื่อยานพาหนะ สื่อควรใช้ของจริงหรือของเล่นจะดีกว่าการใช้รูปภาพธรรมดาๆ


Teacher is commenting all group.

2. หน่วย ผีเสื้อ
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  อาจารย์ได้ตรวจดูแผนก่อน ครูควรนำแผ่นชาร์ทลักษณะของผีเสื้อมา แล้วใช้คำถามปลายเปิดถามเด็ก ควรปรับแผนการสอนว่าตรงไหนใช้กราฟฟิกอะไร ให้วาดรูปใส่ลงไปในแผนการสอน ในวันนึงไม่ควรสอนมากมาย วันที่ต้องสอนมาก คือ วันที่ 1 ควรนำภาพผีเสื้อชนิดนั้นๆมาให้เด็กใช้แว่นขยายส่องดูลักษณะของผีเสื้อชนิดนั้นๆ ในวันที่ 2 ควรยกตัวอย่างผีเสื้อมาแค่ 2 ชนิด เพื่อนำมาเปรียบเทียบ ผีเสื้อนำมาวิเคราะห์ผิวไม่ได้ เพราะ ไม่ได้ใช้ของจริง ไม่ต้องนำหัวข้อผิวใส่ในแผ่นชาร์ท สื่อควรใช้ภาพติดกับกระดาษแข็ง แผ่นชาร์ทส่วนประกอบของผีเสื้อ ไม่ควรเขียนติดมาเลย ควรทำเป็นแผ่นบัตรคำให้เด็กได้มีส่วนร่วมนำแผ่นบัตรคำมาติดที่แผ่นชาร์ทส่วนประกอบของผีเสื้อ ควรไปทำแผ่นชาร์ทให้ดีกว่าเดิม แล้วคราวหน้ามาสอนใหม่อีกรอบ เตรียมสื่อมาพร้อมและมีความตั้งใจในการสอนดี


My friend is teaching title butterfly in experience-enhancement activities.

3. หน่วย เห็ด (กลุ่มของดิฉัน)
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                  เมื่อครูร้องเพลงเสร็จให้เด็กออกมาสังเกต โดยให้สังเกตสิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตาก่อน เช่น สี รูปทรง,รูปร่าง ขนาด แล้วค่อยส่งเห็ดให้เด็กสัมผัสและดมกลิ่น โดยครูต้องนำเห็ดใส่จาน,ตะกร้า แล้วค่อยส่งให้เด็กได้ดูต่อๆกันไปจนครบทุกคน จากนั้นครูเขียนลักษณะของเห็ดลงไปที่แผ่นชาร์ทลักษณะของเห็ดทีละช่อง คือ สี รูปทรง,รูปร่าง ขนาด ส่วนประกอบ ผิวและกลิ่นต้องส่งให้เด็กได้ดูและสัมผัสของจริงก่อน ค่อยเขียนลงแผ่นชาร์ทลักษณะของเห็ด เขียนลักษณะของเห็ดชนิดแรกให้ครบก่อน แล้วค่อยเขียนลักษณะของเห็ดชนิดที่สอง เวลาที่ครูให้เด็กดูเห็ด ครูต้องถามก่อน เช่น สีของเห็ดหอมเป็นอย่างไร แล้วค่อยเขียนสิ่งที่เด็กพูดลงบนแผ่นชาร์ท เป็นต้น เพลงส่วนประกอบของเห็ดให้ปรับเนื้อหาให้เหลือส่วนประกอบของเห็ดที่เด็กสามารถมองเห็นได้ชัดเจน คือ หมวก ก้าน ครีบ ต่อมาครูสอนเปรียบเทียบลักษณะความเหมือนความต่างของเห็ด 2 ชนิด จากนั้นนำไปเปรียบเทียบ นำส่วนที่เหมือนกันก่อนพูดก่อน แล้วค่อยพูดส่วนที่ต่าง การเรียงลักษณะ ต้องเรียงลำดับใหม่ ให้เอาสิ่งที่เด็กดูได้ทั้งห้อง คือ สี รูปทรง,รูปร่าง ขนาด ส่วนประกอบ ผิวและกลิ่นครูต้องนำเห็ดใส่จาน,ตะกร้า แล้วค่อยส่งให้เด็กดูทุกคน (ผลัดกันดู) อะไรที่เห็ดเข็มทองไม่เหมือนเห็ดหอม สรุป เห็ดเข็มทองและเห็ดหอมมีลักษณะบางอย่างเหมือนกัน เช่น ...... เห็ดเข็มทองและเห็ดหอมมีลักษณะที่ไม่เหมือนกันบางอย่าง เช่น ..... การสอนวันจันทร์ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ควรนำเห็ดใส่ตะกร้าและให้เด็กจับคู่ 1 : 1 มีการเตรียมสื่อมาพร้อม วิธีการสอนมีความเหมาะสมและมีความตั้งใจในการสอน 


My friend is teaching title mushroom in experience-enhancement activities.

4. หน่วย ผัก
    ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                 แผ่นชาร์ทเพลงมีแต่ตัวหนังสือ ไม่มีมะเขือยาวและบวบของจริงมาให้เด็กดู เพื่อใช้เปรียบเทียบลักษณะความเหมือน-ความต่างระหว่างมะเขือยาวกับบวบ ถ้าไม่มีมะเขือยาวและบวบของจริงมาให้เด็กดู ครูก็ควรวาดรูป,ปริ้นท์รูปใส่กระดาษแข็ง แล้วตัดตามรูปร่างของผักชนิดนั้นๆ ไม่มีแผ่นชาร์ทส่วนประกอบของผัก คือ มะเขือยาวและบวบ


My friend is teaching title vegetable in experience-enhancement activities.

5. หน่วย กล้วย
ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ดังนี้
                 แผ่นชาร์ทคำคล้องจองมีแต่ตัวหนังสือ เวลาครูถามส่วนประกอบของกล้วยหอม ครูต้องถามสิ่งที่เด็กมองเห็นได้ก่อน คือ สี รูปทรง,รูปร่าง ขนาด ต่อมาครูถึงส่งกล้วยหอมให้เด็กดูพื้นผิว แล้วปอกเปลือกให้เด็กดูเนื้อกล้วย (สังเกตส่วนประกอบ) กล้วยไข่มีส่วนประกอบอะไรบ้าง เนื้อกล้วยมีสีเหลือง ต่อมาให้เด็กดมกลิ่นกล้วย ครูนำกล้วยมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วให้เด็กชิม แผ่นชาร์ทเปรียบเทียบลักษณะความเหมือน-ความต่างต้องมีรูปกล้วยด้วย คำว่ากล้วยต้องใช้สีแดง (ในคำคล้องจองด้วย) มีความตั้งใจในการนำกล้วยมา แต่การจัดลำดับและการเตรียมยังไม่พร้อม และไม่มีการเตรียมตารางวิเคราะห์ส่วนประกอบของกล้วยมา


My friend is teaching title banana in experience-enhancement activities.

Application
                     ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้ประโยชน์ในการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กอนุบาลในอนาคต ดิฉันจะนำข้อเสนอแนะต่างๆที่อาจารย์ได้ให้ไว้ไปพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้นไป และดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

Technique
                     วันนี้อาจารย์ได้ใช้เทคนิคการสอนโดยการอธิบายและการบรรยาย เนื่องจากวันนี้มีการทดลองสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ จึงต้องใช้เทคนิคนี้ในการเรียนการสอน อาจารย์ได้ตรวจดูแผนการสอน ได้ให้คำแนะนำ เทคนิคต่างๆที่ใช้ในการสอน และนอกจากนี้อาจารย์ยังให้ข้อเสนอแนะต่างๆมากมายเกี่ยวกับการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์

Evaluation

Self
                    วันนี้ดิฉันมาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย เคร่งเครียดกับการสอนของอาจารย์ในวันนี้เล็กน้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังเทคนิคในการสอนต่างๆจากอาจารย์ ตั้งใจดูเพื่อนสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และมีส่วนร่วมในกิจกรรม โดยการเป็นนักเรียนให้กับเพื่อน ขณะที่เพื่อนสอน

Friends
                    วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่ดูเครียดกับการสอนของอาจารย์ในวันนี้ ส่วนใหญ่ตั้งใจเรียน มีเพื่อนขาดเรียนประมาณ 5 คน มีเพื่อนบางคนเล่นโทรศัพท์มือถือในห้องเรียน เพื่อนบางกลุ่มก็เตรียมสื่อในการสอนมาไม่ครบ บางกลุ่มเตรียมสื่อมาดี ตั้งใจสอน เพื่อนๆทุกกลุ่มได้พยายามสอนอย่างเต็มที่ที่สุดแล้ว ดิฉันเชื่อว่าเพื่อนๆทุกกลุ่มต้องมีพัฒนาการในการสอนที่ดีขึ้นกว่าเดิมแน่นอนค่ะ

Teacher
                    วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีความตั้งใจสอนอย่างมาก อาจารย์ดูท่าทางเครียดเกินไป ทำให้เพื่อนหลายคนรู้สึกเกร็งในการเรียนวันนี้ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่อาจารย์ทำ คือ ความหวังดี อยากให้ทุกคนสอนได้ สอนเป็นและสอนได้อย่างถูกวิธี วันนี้อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสอนวันแรก ควรใช้เพลงในขั้นนำ ครูควรเตรียมแผ่นชาร์ทและสื่อให้พร้อมในการสอนแต่ละหน่วย